แตนเบียนด้วง Theocolax elegans (Westwood) แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

แตนเบียนด้วง Theocolax elegans (Westwood) แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Theocolax elegans (Westwood) (Hymenoptera : Pteromalidae)
ชื่อเดิม : Choetospila elegans
ชื่อพ้อง : Cerocephala oryzae, Spalangia metallica, Spalangia rhizoperthae, Spalangiomorpha fasciatipennis

รูปร่างลักษณะ ชีวประวัติ และอุปนิสัย
ตัวเต็มวัย มีขนาดลำตัวยาว 1.0-2.1 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลแดง มีแถบพาดสีดำ ปีกคู่หน้า มีขนแข็งสีดำ และมีแถบสีน้ำตาลตรงกลางปีก มี petiole และ ovipositor สั้น บางครั้งไม่มีปีก วงจรชีวิตของแตนเบียนประมาณ 15 วัน ไข่ มีลักษณะยาวรี และสีขาวใส ระยะไข่ ใช้เวลาประมาณ 2 วัน หนอน รูปร่างแบบ hymenopteriform ไม่มีขา ดักแด้ มีรูปร่างแบบ exarate อายุประมาณ 7-8 วัน ระยะตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 10-15 วัน ที่อุณหภูมิ 32 ºC โดยส่วนใหญ่แตนเบียนเพศเมียจะมีชีวิตได้นานกว่าเพศผู้ แตนเบียนเพศผู้มีขนาดความยาวปล้องหนวดสั้นกว่าเพศเมีย ลักษณะปลายหนวดปล้องสุดท้ายของเพศเมีย เรียกว่า club เป็นอวัยวะใช้รับสัมผัส (sensory organs) เช่น ใช้ในการหาอาหาร แตนเบียนชนิดนี้ เป็นแตนเบียนที่อาศัยอยู่ภายนอกของหนอนด้วงที่ทำลายเมล็ด แตน 1 ตัว ทำลายหนอน 1 ตัว (solitary ectoparasitoid) พบมากทั้งในข้าวเปลือกและข้าวสาร ในการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์แตนเบียน อุณหภูมิสูงจะส่งผลให้การเจริญเติบโตของแตนเบียนไวขึ้น แตนเบียนเพศผู้จะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าแตนเบียนเพศเมีย

ภาพ – แตนเบียน แตนเบียนด้วง Theocolax elegans (Westwood) เพศผู้ เพศเมีย

เขตการแพร่กระจาย
อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส คองโก เคนยา เยอรมนี ฮอนดูรัส อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ปานามา เปรู เครือรัฐเปอร์โตริโก เซเนกัล แอฟริกาใต้ สวีเดน ไทย โตโก สหราชอาณาจักร อุรุกวัย อิหร่าน อิตาลี และสหรัฐอเมริกา

แมลงอาศัย
ด้วงถั่วแดง Acanthoscelides obtectus (Say), Caulophilus oryzae (Gyllenhal), Callosobruchus analis (Fabricius), ด้วงถั่วเหลือง Callosobruchus chinensis (Linnaeus), ด้วงถั่วเขียว Callosobruchus maculatus (Fabricius), มอดหนวดยาว Cryptolestes ferrugineus (Stephens), มอดยาสูบ Lasioderma serricorne (Fabricius), Prostephanus truncatus (Horn), มอดข้าวเปลือก Rhyzopertha dominica (Fabricius), ด้วงงวงข้าวสาลี Sitophilus granarius (Linnaeus), Sitophilus linearis (Herbst), ด้วงงวงข้าว Sitophilus oryzae Linnaeus, ด้วงงวงข้าวโพด Sitophilus zeamais Motschulsky, ผีเสื้อข้าวเปลือก Sitotroga cerealella (Olivier), มอดสมุนไพร Stegobium paniceum (Linnaeus), Zabrotes subfasciatus (Boheman) และด้วงอิฐ Trogoderma granarium Everts

-*-*-*-*-*-

แตนเบี้ยน ที่พบนในประเทศไทย
แตนเบียน ที่เป็นศัตรูธรรมชาติของแมลงศัตรูผลิตผลเกษตร ที่พบในประเทศไทยระหว่างปี 2542-2547 มี 21 ชนิด จาก 7 วงศ์ ดังนี้ Chalcididae, Eurytomidae, Pteromalidae, Eulophidae, Evaniidae Braconidae และ Bethylidae แต่ชนิดที่สำคัญและพบมากคือ Bracon hebetor, Anisopteromalus calandrae, Theocolax elegans, Proconura minusa, P. caryobori, Cerocephala dinoderi, Lariophagus distinguendus, Cephalonomia tarsalis และ Holepyris sylvanidis

ชนิดวงศ์ของแตนเบียน ที่พบในประเทศไทย ดังนี้
Family : Chalcididae
Species : Proconura minusa Narendran*, Proconura caryobori (Hanna)*, Antrocephalus mitys (Walker), Notaspidiella clavata Narendran & Konishi, Notaspidium thailandicum Narendran & Konishi, Hockeria spp. (3 species)

อ่าน :  กล้วยน้ำว้าพื้นเมืองบ้านแพ้ว

Family : Eurytomidae
Species : Eurytoma sp.

Family : Pteromalidae
Species : Theocolax elegans (Westwood)*, Cerocephala dinoderi Gahan*, Anisopteromalus calandrae (Howard)*, Lariophagus distinguendus (Förster)*

Family : Eulophidae
Species : Aprostocetus (Tetrastichodes) hagenowii (Ratzeburg)

Family : Evaniidae
Species : Evania sp.

Family : Braconidae
Species : Bracon hebetor Say*

Family : Bethylidae
Species : Cephalonomia tarsalis (Ashmead)*, Cephalonomia sp., Plastanoxus sp., Holepyris sylvanidis (Brèthes)*, Holepyris sp.

-*-*-*-*-*-

ที่มา : PDF แมลงที่พบในผลิตผลเกษตร และการป้องกันกำจัด โดย กองวิจัยและพัฒนาวิชาการหลักการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร – กรมวิชาการเกษตร


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง