ชาวนาญี่ปุ่น ทำนาอย่างไร ? ให้ขายข้าวได้ถึง 100 บาท ต่อกิโลกรัม

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ชาวนาญี่ปุ่น ทำนาอย่างไร ? ให้ขายข้าวได้ถึง 100 บาท ต่อกิโลกรัม

เราคงจะเคยได้ยินไหมว่า ชาวนาญี่ปุ่น นั้นมีฐานะร่ำรวย และถูกยกมาเปรียบเทียบกับชาวนาไทยอยู่บ่อยๆ ด้วยกรรมวิธีการผลิตที่ดูพิถีพิถันและการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเพาะปลูก สะท้อนไปที่ราคาข้าวในท้องตลาด ที่ข้าวญี่ปุ่นจะมีราคาสูงกว่าราคาข้าวทั่วไป

แต่รู้หรือไม่เพราะว่าชาวนาจำนวนมากในประเทศญี่ปุ่นนั้นทำนากันเป็นอาชีพเสริม แล้วไม่ได้ร่ำรวยจากการทำนา แต่รายได้หลักนั้นมาจากการประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น พนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม หรือพนักงานออฟฟิศ และทำการค้าขาย

อะไรที่ทำให้คนญี่ปุ่น สามารถทำนาเป็นอาชีพเสริมได้ ?

ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีการทำนามายาวนานกว่า 3,000 ปี มาแล้ว โดยมีจุดเริ่มต้นจากทางตอนเหนือของเกาะคิวชู และคาดว่าได้รับการถ่ายทอดกรรมวิธีการเพาะปลูกข้าวมาจากประเทศจีนผ่านทางคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งแต่เดิมอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวญี่ปุ่นคืออาหารที่หาได้จากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นการจับ ปลาล่าสัตว์ และผลไม้ป่า ในเวลาต่อมาข้าวก็ได้กลายเป็นแหล่งอาหารหลักของญี่ปุ่น และพื้นที่ทำนาก็ได้กระจายไปทั่วประเทศ และข่าวก็ยังกลายเป็นภาษีชนิดหนึ่ง ที่ข้าทาสบริวารในสมัยก่อนต้องเพาะปลูกข้าวแล้วก็นำจ่ายให้กับเจ้านาย หรือชาวนาบางส่วนที่เช่าที่ดินมาทำนาก็จะต้องแบ่งผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้บางส่วนจ่ายเป็นค่าเช่าที่ดินให้กับเจ้าของที่ดินอีกด้วย

ภายหลังจากที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น ระหว่างโครงสร้างการบริหารประเทศใหม่ แต่ผลกระทบจากสงครามก็ได้ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะปัญหาความอดอยากที่กำลังแพร่กระจายไปทั่วประเทศ เนื่องจากระบบศักดินาที่มีมาแต่โบราณทำให้ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ที่ชนชั้นนำ และคนส่วนน้อย โดยเฉพาะการถือครองที่ดินที่ส่วนใหญ่เป็นนายทุนและพ่อค้ารายใหญ่ ชาวนาจำนวนมากจึงต้องเช่าที่ดิน และจ่ายค่าเช่าเป็นผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรและความมั่งคั่งของประเทศถูกครอบครองโดยคนส่วนน้อยที่มีฐานะร่ำรวย

ต่อมาหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ประเทศญี่ปุ่นมีการปฏิรูปที่ดินเพื่อแก้ปัญหาความอดอยากของประชาชนรวมทั้งมีการบังคับให้เหล่านายทุนและเจ้าของที่ดินรายใหญ่ขายที่ดินที่ถือครองเกินกว่าที่รัฐบาลกำหนด คืนให้กับส่วนกลาง จากนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นก็ได้นำที่ดินส่วนนั้นมาแบ่งขายให้กับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน รวมแล้วกว่า 5 ล้านราย คิดเป็นพื้นที่กว่า 11 ล้านไร่ แถมยังตั้งราคาขายคงที่และไม่มีการคิดดอกเบี้ยเพื่อที่จะให้เกษตรกรนั้นสามารถผ่อนจ่ายได้ตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว และด้วยผลกระทบจากสงครามก็ได้ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อรุนแรงญี่ปุ่น เงินเย็นนั้นอ่อนค่าลงมากในขณะที่หนี้สินของชาวนาที่ซื้อที่ดินจากรัฐบาลยังเท่าเดิมเพราะเป็นราคาขายแบบคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
สถานการณ์นี้ทำให้ไม่นานนักเกษตรกรชาวญี่ปุ่นนั้นสามารถใช้หนี้และไถ่ถอนที่ดินให้กลายมาเป็นของตัวเองได้ภายในระยะเวลาเพียง 2-3 ปี เท่านั้น

ซึ่งผลจากการปฏิรูปและการควบคุมการครอบครองที่ดินนี้เอง ที่ทำให้ชาวนาในประเทศญี่ปุ่นนั้นสามารถครอบครองที่ดินในการทำกินได้แต่ละผืนไม่ใหญ่มาก โดยส่วนใหญ่จะสามารถครอบครองได้ประมาณ 1 เฮกตาร์ หรือถ้าคิดเป็นจำนวนไร่ก็อยู่ที่ประมาณ 6.25 ไร่ ก็เลยทำให้ชาวนาในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีพื้นที่ทำกินที่ไม่ใหญ่มากแต่ก็เพียงพอแล้วคุ้มค่าที่จะทำนาต่อไป

ดังนั้น ในมุมของคนญี่ปุ่นในเวลานั้นเองก็เลยต้องหาทาง และด้วยข้อจำกัดของพื้นที่นี้เองที่ทำให้เกษตรกรชาวญี่ปุ่นนั้นต้องมาโฟกัสหรือว่ามุ่งเน้นที่การพัฒนาพันธุ์ข้าว และกรรมวิธีการปลูกเพื่อที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้เพิ่มขึ้น จึงมีการพัฒนาเครื่องจักรที่มีขนาดเล็กสอดคล้องกับขนาดแปลงเพาะปลูก ยกตัวอย่างเช่น รถดำนาที่มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องตัดหญ้าเพียงเล็กน้อย หรือแม้แต่รถเกี่ยวข้าวที่มีขนาดเท่ากับรถยนต์คันหนึ่ง ซึ่งเครื่องจักรเหล่านี้ก็มีราคาที่จับต้องได้ ทำให้เกษตรกรนั้นสามารถครอบครองเครื่องทุ่นแรงเหล่านี้ได้

อีกประเด็นสำคัญก็คือเรื่องของราคาข้าวในประเทศญี่ปุ่นที่มีราคาสูง เนื่องจากข้าวนั้นถูกกำหนดให้เป็นแหล่งอาหารหลักของประเทศ ความมั่นคงทางด้านอาหารจึงถือเป็นนโยบายหลักของรัฐบาลมาตั้งแต่อดีต โดยหลังจากจบสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลก็จะผู้รับซื้อผลผลิตข้าวจากเกษตรกรทั้งหมด และขายต่อให้กับผู้ค้าปลีก หรือโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่ง รัฐบาลก็จะเปรียบเหมือน “พ่อค้าคนกลาง” เพื่อควบคุมระดับราคาข้าวในตลาด

ต่อมาเมื่อปัญหาความอดอยากนั้นคลี่คลายลง แต่รัฐบาลก็ยังอยากที่จะคงปริมาณการผลิตข้าวไว้เพื่อที่จะเก็บเข้ามาในคลังของรัฐบาลเอง ก็เลยมีการอุดหนุนราคาข้าวเพื่อ จูงใจให้เกษตรกรนั้นปลูกข้าวและนำมาขายให้กับรัฐบาลเพื่อที่จะเก็บเข้าคลังสินค้าต่อไป

นอกจากนี้ยังมีการตั้งกำแพง นำเข้า ที่สูงถึง 777% เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาข้าวในประเทศตกต่ำ และถึงแม้ว่าผลผลิตที่ได้ในปัจจุบันจะมีปริมาณเกินความต้องการสวนทางกับความนิยมในการบริโภคข้าวของชาวญี่ปุ่น ที่ปรับตัวลดลงจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป รัฐบาลก็ยังไม่มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวนาที่งดปลูกข้าวแล้วเปลี่ยนไปปลูกพืชผลอย่างอื่นแทน

ถึงตรงนี้เราก็จะเห็นว่าชาวนาในประเทศญี่ปุ่นนั้นได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากรัฐบาลมาโดยตลอดตั้งแต่อดีต ส่วนนึงก็เป็นเพราะว่ามีการรวมตัวกันในรูปแบบของสหกรณ์ชาวนา หรือที่เรียกกันว่า Japanese Agricultural Cooperatives หรือเรียกสั้นๆ ว่า JA สหกรณ์ชาวนาแห่งนี้นั้นมีสมาชิกรวมกันกว่า 5 ล้าน รายซึ่งก็เป็นการรวมกลุ่มกันที่ทำให้มีอำนาจการต่อรองต่อรัฐบาลญี่ปุ่นมากทีเดียว โดย JA นั้นถือว่าเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคการเมืองอย่างแอลดีพี มาตั้งแต่ปี 1955 เรียกได้ว่าเป็นฐานเสียงที่ชี้เป็นชี้ตายให้กับฝั่งการเมืองได้เลย

ดังนั้นก็เลยไม่แปลกใจที่เราจะเห็นข่าวนั้นถือว่าเป็นสินค้าการเมืองที่ได้รับการปกป้องอย่างดีมาโดยตลอด ซึ่งนอกจากเป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อที่จะรักษาผลประโยชน์ร่วมกันแล้ว เครือข่ายสหกรณ์ของ JA นั้นก็ได้มีการกระจายตัวไปในระดับเทศบาล และในระดับจังหวัดทั่วประเทศญี่ปุ่น มีธนาคารเครดิตยูเนี่ยน และมีธุรกิจประกันเป็นของตัวเอง แม้ว่าสหกรณ์ชาวนานั้นจะดูเป็นโครงสร้างที่สร้างความมั่นคงให้กับชาวนาญี่ปุ่นได้ แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้เลย อีกปัจจัยสำคัญอย่างการแปรรูป และการต่อยอดผลิตภัณฑ์นั้นช่วยค้ำยันกระข่าวของญี่ปุ่นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นมิริน แป้งขนมโมจิ หรืออาหารญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคย ที่ไม่ว่าที่ตั้งของร้านอาหารเหล่านั้นจะอยู่ที่ใดในโลก ก็ต้องใช้ข้าวสายพันธุ์ของญี่ปุ่นเท่านั้นเพราะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ และอยู่คู่อาหารญี่ปุ่นมายาวนาน โดยเฉพาะเหล้าสาเก ที่ใช้วัตถุดิบหลักคือข้าวญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันในญี่ปุ่นมีโรงผลิตเหล้าสาเกจำนวนมากถึง 1,200 แห่ง ซึ่งคาดว่าถูกวางจำหน่ายมากกว่า 10,000 แบรนด์ เลยทีเดียว

จากการสนับสนุนของภาครัฐ รวมถึงการบริโภคและต่อยอดผลิตภัณฑ์ ทำให้ราคาข้าวสารในประเทศญี่ปุ่นมีราคาตั้งแต่ 300-400 เยน คิดเป็นประมาณ 80-105 บาท ต่อกิโลกรัม กันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามแม้ราคาข้าวจะสุงแต่ก็ไม่ได้หมาวความว่าชาวนาทุกคนจะได้กำไรเป็นกอบเป็นกำเสมอไป สำหรับชาวนาที่มีพื้นที่เพาะปลูกเพียงไม่กี่ไร่นั้น พบว่ากำไรจากการทำนาเพียงน้อยนิด บางส่วนทำแล้วยังขาดทุนด้วยซ้ำ เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง จะเหลือก็เพียงแค่ผู้มีเนื้อที่แปลงนาขนาดใหญ่ได้ หรือว่ามีการรวมตัวกันของกลุ่มชาวนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้นที่จะสามารถทำกำไรและร่ำรวยจากการทำนาในประเทศญี่ปุ่นได้ เพราะว่าอาศัยการประหยัดต่อขนาดหรือว่าการมีสเกลที่สามารถทำให้ซื้อเครื่องจักรลงทุนเครื่องจักรได้ใหญ่ขึ้น บวกกับเงินอุดหนุนที่ภาครัฐนั้นจ่ายให้ และกลุ่มนึงคือผู้ประกอบการที่สามารถต่อยอดจากข้าวไปเป็นผลิตภัณฑ์ยางอื่น จึงสามารถเพิ่มผลกำไรได้มากกว่าการขายข้าวเปลือกเพียงอย่างเดียว และสิ่งที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือในปัจจุบันชาวนาญี่ปุ่นหลายคนนั้นยึดถืออาชีพชาวนาเป็นงานนอกเวลา เนื่องจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นก็เติบโตอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องจักรและยานยนต์ทำให้ยังมีอีกหลายสาขาอาชีพที่ทำเงินได้มากกว่าการเป็นเกษตรกร ชาวนาหลายคนจึงใช้เวลาในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ประกอบอาชีพอื่นหรือเป็นพนักงานเงินเดือนแล้วใช้เวลาว่างในช่วงวันหยุดเป็นเกษตรกร อีกทั้งประเทศญี่ปุ่นเองก็มีฤดูกาลทำนาเพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้นทำให้การทำนาแต่ละครั้งใช้เวลาไม่มาก และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือการซื้อขายที่ดินทางการเกษตรนั้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากหน่วยงานท้องถิ่น เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับความมั่นคงทางอาหารของประเทศ จึงต้องควบคุมการไหลซื้อที่ดินเกษตรกรรมเพื่อเปลี่ยนเป็นโรงงานอุตสาหกรรมหรือที่อยู่อาศัย ทำให้ที่ดินเกษตรกรรมในญี่ปุ่นนั้นขายต่อได้ยาก ชาวนาหลายคนในญี่ปุ่นได้ที่ดินตรงนี้ติดไม้ติดมือมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่แล้วก็เลยเอาที่ดินตรงนี้เนี่ยมาปลูกข้าวใช้สำหรับการบริโภคเองส่วนที่เหลือเนี่ยก็ขายต่อให้กับคนใกล้ชิดหรือไม่ก็แบ่งส่วนที่ดินเนี้ยให้กับชาวนาคนอื่นมาเช่าช่วงทำต่อ ซึ่งก็ดีกว่าการปล่อยให้ที่ดินรกร้างอย่างเดียว

ด้วยเหตุนี้เองรายได้ของเจ้าของที่ดินเกษตรกรรมส่วนใหญ่ในญี่ปุ่นจึงไม่ได้มาจากการทำนา แต่มาจากการประกอบอาชีพอื่นๆ แล้วก็มีรายได้จากการทำนาเป็นแค่ส่วนเสริมเท่านั้น

ปัจจุบันจำนวนเกษตรกรที่ยังคงทำเกษตรกรรมในญี่ปุ่นมีจำนวนลดน้อยลงเรื่อยๆ จากจำนวนกว่า 2.2 ล้านครัวเรือน ในปี 2010 เหลือเพียงแค่ 1.7 ล้านครัวเรือน ในปี 2020 ส่วนใหญ่อยู่ในวัยชราที่มีอายุเฉลี่ย 65 ปี อีกทั้งยังมีที่ดินทางการเกษตรกว่า 2.5 ล้านไร่ ปล่อยทิ้งว่างเอาไว้ เมื่อพื้นที่เพาะปลูกลดน้อยลง ทางรัฐบาลญี่ปุ่นก็เลยต้องเร่งหามาตรการสนับสนุนเพื่อที่จะดึงดูดให้คนรุ่นใหม่นั้นหันมาสนใจการทำเกษตรกรรมมากขึ้น เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารของชาติให้สามารถยืนอยู่ได้ด้วยตัวเอง

11.20 ถึงตรงนี้ก็จะเห็นว่าชาวนาญี่ปุ่นและชาวนาไทยนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก แล้วก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราสามารถเรียนรู้แล้วก็นำมาปรับใช้กับบ้านเราได้เหมือนกัน อย่างเช่น กรรมวิธีในการเพาะปลูกและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ให้ผลผลิตข้าวเปลือกต่อไร่สูง หรือการบริหารเครือข่ายสหกรณ์ที่เข้มแข็งและมีอำนาจต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ร่วมกัน รวมไปถึงการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกำไรเพิ่มขึ้นได้หลายเท่าตัว เมื่อเทียบกับการขายข้าวเปลือกแบบธรรมดาทั่วไป

ก็ไม่แน่ว่าหากเราสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาไทยขึ้นมาได้ เราอาจจะได้เห็นการทำงานในประเทศไทยไม่ใช่แค่เพียงการทำนาเพื่อใช้หนี้หรือว่าประคับประคองชีวิตเท่านั้น แต่เป็นการทำนาเพื่อเป็นรายได้เสริมในช่วงเวลาที่มีเวลาว่าง หรือเพื่อต่อยอดสินค้าท้องถิ่นที่ทำมาจากข้าวพันธุ์ไทยจนกลายเป็นเมนูเครื่องดื่มและขนมที่สามารถนำไปวางขายในตลาดโลกเหมือนกับเหล้าสาเกหรือขนมโมจิที่ญี่ปุ่นนั้นทำสำเร็จมาแล้วนั่นเอง


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  ‘ภูมิธรรม’ วอนหยุดดราม่า ข้าวเก่า 10 ปี ชี้เหลือแค่เจ้าเดียวร่วมประมูล พร้อมเปิดซองต่อรองราคา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง