วิธีป้องกันและกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ มันสำปะหลัง (Cassava Bacterial Blight CBB)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีป้องกันและกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ มันสำปะหลัง (Cassava Bacterial Blight CBB)

เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas axonopodis pv. manihotis

ลักษณะอาการ
เริ่มแสดงอาการใบจุดเหลี่ยมฉ่ำน้ำกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ใบ อาจมีวงสีเหลืองล้อมรอบจุดเหลี่ยม อาการจะพัฒนาขึ้นทำให้จุดเหลี่ยมขยายตัวติดกันเป็นอาการใบไหม้สีน้ำตาล ในที่สุดใบจะเหลือง แห้งแล้วหลุดร่วงไป บางครั้งพบอาการยางไหลและนอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อน้ำท่ออาหารของลำต้นและรากเน่า ลำต้นจะแสดงอาการเป็นแผลรูปร่างคล้ายกระสวย สีน้ำตาลเข้มถึงสีดำขอบแผลจะฉ่ำน้ำ แผลจะขยายตัวลงลึกถึงเนื้อลำต้นทำให้ลำต้นเปราะและหักได้ นอกจากนี้ยังพบก้อนสีเหลืองขนาดเล็ก (ยางไหล) ติดอยู่บริเวณแผลหรือบริเวณยอดที่แห้งตายส่วนยอดจะแสดงอาการตายจากยอดลามลงมาตามลำต้นส่วนล่าง มีสีน้ำตาลเข้มถึงสีดำในที่สุดใบที่ยอดจะหลุดร่วงและแห้งตาย และจะพบก้อนสีเหลืองด้วย การระบาดจะพบมากขึ้นเมื่ออากาศมีปริมาณความชื้นสูง และมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง ประกอบกับถ้าใช้มันสำปะหลังพันธุ์อ่อนแอ การใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูงในช่วงที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค และการปลูกหนาแน่นทำให้มีความชื้นสูงในระหว่างต้นและแถวปลูกจะทำให้การระบาดของโรคเพิ่มขึ้นด้วย โดยจะพบการระบาดมากในช่วงฤดูฝน

การแพร่ระบาด
ติดไปกับท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค แพร่กระจายไปโดยฝนหรือกับดิน หรือกับเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร เช่น มีดที่ใช้ในการตัดท่อนพันธุ์ ซึ่งเชื้อสาเหตุของโรคสามารถอยู่รอดในดินบนเศษซากพืชได้นานกว่า 2 ปี

แนวทางการป้องกันกำาจัดโรคใบไหม้
1. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อจากแปลงขยายพันธุ์ที่มีการจัดการ และดูแลรักษาอย่างได้มาตรฐานตามหลักวิชาการ

2. สำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

3. ปลูกพืชหมุนเวียนที่เป็นพืชอายุสั้น หรือหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังซ้ำในแปลงที่ระบาดรุนแรงอย่างน้อยนาน 6 เดือน

4. พื้นที่ที่มีการปลูกมันสำปะหลังติดต่อกันเป็นเวลานาน การไถกลบเศษซากมันสำปะหลังให้ลงลึก และไถดินตากแดดอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ ก่อนการปลูก

5. ใช้ชีววิธี การพ่นเชื้อแบคทีเรียชนิดปฏิปักษ์ เช่น Pseudomonas flurescens ทำให้จำนวนจุดบนใบและจำนวนใบไหม้ต่อต้นลดลง และทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2.7 เท่า

6. การใช้สารเคมีการเป็นวิธีที่ควรเลือกปฏิบัติในลำดับสุดท้าย สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ สารประกอบทองแดงชนิดต่าง ควรใช้ร่วมกับการตัดแต่งกิ่งที่มีอาการของโรคปรากฏ

ที่มา : คู่มือ การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง .PDF – โดย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  เลี้ยงวัว ปลดหนี้ให้พ่อแม่ หนุ่มวัย 25 พลิกชีวิต เริ่มจากศูนย์ มีเงินเก็บหลักล้าน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง