การเพาะเลี้ยงปลาช่อน อาชีพทางเลือกใหม่ ที่น่าทำ

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

การเพาะเลี้ยงปลาช่อน อาชีพทางเลือกใหม่ ที่น่าทำ

การคัดเลือกพ่อพันธุ์-ปลาช่อน เพื่อ การเพาะปลาช่อน จะพิจารณาจากลักษณะภายนอก โดยแม่ปลาช่อนที่มีความพร้อมผสมพันธุ์ท้องจะอูม ช่องเพศจะกลมขนาดใหญ่ สีชมพูหรือแดง ส่วนพ่อปลาช่อน ลำตัวยาวเรียว ช่องเพศเป็นติ่งเรียวแหลม สีพื้นท้องเข้มกว่าแม่ปลาช่อน

*** หมายเหตุ : การคัดพ่อ-แม่พันธุ์ จะต้องทำด้วยความรวดเร็วอย่าให้ปลาช่อนขับเมือกออกมาก พ่อปลาช่อนควรมีอายุมากกว่าแม่ปลาช่อน ถ้าจะให้ดีพ่อพันธุ์ปลาช่อนจะต้องมีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป

สถานการณ์ปลาช่อน
ปัจจุบัน ผลผลิตในตลาดอยู่ที่ 3,752 ต้น มีมูลค่า 352 ล้านบาท  มีจำนวนฟาร์มอยู่ที่ 3,915 ฟาร์ม บนพื้นที่ 5,592 ไร่

การเพาะพันธุ์ปลาช่อน โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์
1 คัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ปลาช่อน อายุประมาณ 1 ปี ขึ้นไป จะมีความสมบูรณ์พันธุ์

2. ทำการฉีดฮอร์โมนเข้ากล้าเนื้อปลาช่อน
– พ่อพันธุ์ปลาช่อน ฉีด LHRHa 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม Domperidone 10 มิลิกรัม/กิโลกรัม

– แม่พันธุ์ปลาช่อน ฉีด LHRHa 30 ไมโครกรัม/กิโลกรัม Domperidone 10 มิลิกรัม/กิโลกรัม

3. ใส่เชือกฟาง ฉีกฝอย เพื่อเป็นรับไข่ ในถังผสมพันธุ์ (1 คู่ ต่อ 1 ถัง) ระดับน้ำลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร แล้วปิดฝาถังด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ

4. ให้ปลาผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติ ตั้งไว้ในที่เงียบ ไม่มีเสียงรบกวน 24 ชั่วโมง

5. ช้อนไข่นำมาฟักในถัง หรือบ่อ เปิดให้น้ำไหลผ่านตลอดเวลา (5 ลิตร/นาที) ไข่จะฟักเป็นตัวใน 30-36 ชั่วโมง

6. อนุบาลลูกปลาช่อน ประมาณ 1 เดือน โดยหลังจากวันที่ 4 ให้ไรแดงเป็นอาหาร และนำลงอนุบาลในบ่อดิน

7. จำหน่าย/นำไปเลี้ยงในบ่อดิน ลูกปลาช่อนมีขนาด 2-3 เซนติเมตร สามารถจำหน่าย หรือถ้าเกษตรกรเพาะพันธุ์เอง สามารถนำลงไปเลี้ยงในบ่อดินได้

ผลงานวิจัย : โครงการวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาช่อน โดย สวก.
เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  เกษตรอินทรีย์ 8 ข้อห้ามทำ 9 ข้อต้องทำ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง