16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่ 16/20
ได้ เนื่องจากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักคิดและแนวทางปฏิบัติตนสำหรับคนทุกคน ทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุล มั่นคง ยั่งยืน ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ และทำความอยู่เย็นเป็นสุข ความสามัคคีปรองดองให้เกิดขึ้นในสังคมไทยส่วนรวมอย่างแท้จริง
“การศึกษา” คือ เครื่องมือของการพัฒนา “คน” ดังนั้น หากส่งเสริมการพัฒนาระบบการศึกษาให้มีพื้นฐานบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เท่ากับเป็นการพัฒนาคนในประเทศให้มีคุณลักษณะที่ดี และเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า กล่าวคือ
1. เป็นผู้รู้จัดความพอประมาณ โดยมีความพอประมาณตามศักยภาพของตนเอง ทั้งในการประกอบวิชาชีพ การลงทุนการใช้จ่ายส่วนตัวและการใช้เวลาเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ชีวิตรู้จักคำว่า “พอ” ในความต้องการ ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. เป็นผู้มีเหตุมีผล ทั้งมีเหตุผลในการคิด การพูด และการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำอะไร โดยมีการใช้วิจารณญาณพินิจพิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ทำตามอารมณ์ตนเอง
3. เป็นผู้มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีการวางแผนการดำเนินชีวิตดำเนินธุรกิจ หรือประกอบอาชีพใด ๆ ด้วยความไม่ประมาท มีการลดความเสี่ยงและสร้างความมั่นคงปลอดภัย รู้จัดเตรียมตัวพร้อมรับกับความผันผวนของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน และคำนึงถึงอนาคต เช่น การทำอาชีพเสริม การออม และการทำประกันภัย เป็นต้น
4. เป็นผู้ที่มีความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) แสวงหาความรู้ให้มีความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องการประกอบอาชีพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ผู้ที่มีความรู้จะตัดสินใจในทางการกระทำใด ๆ ได้โดยมีข้อมูลที่ชัดเจน ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดน้อยลง และการเป็นผู้มีความรู้ นอกจากจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตด้วยการพึ่งตนเองแล้วยังสามารถช่วยเหลือสังคมส่วนรวมได้ด้วย
5. เป็นผู้ที่มีคุณธรรม รู้จัดมีความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม โดยมีความมานะ พากเพียร อดทน มีสติ ปัญญา รู้จัดการให้ เสียสละ แบ่งปันเวลาและสิ่งของ ตลอดจนทรัพย์สินที่มีเกินพอให้แก่ผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ยากไร้และด้วยโอกาสกว่าตนเอง ตัวเองก็จะไม่เดือนร้อน สังคมก็จะร่มเย็น
ในยุคปัจจุบันมีการนำระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่มีการแข่งขันสูงมาใช้ อย่างไม่รอบคอบ การกระตุ้นค่านินมการบริโภคอย่างฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย และเป็นไปตามกระแสจนเกินไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่แท้จริงทั้งต่อตนเองและส่วนรวม ส่งผลให้คุณธรรมของผู้คนในสังคมลดน้อยถอยลง และสภาพสังคมอ่อนแอ การพัฒนาระบบการศึกษาบนพื้นฐานหลากปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากเป็นการมุ่งพัฒนาคนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ มีความสมดุล ทั้งสติปัญญา จิตใจ ร่างกาย โดยใช้คุณธรรม ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานของหลักปรัชญาฯ เป็นตัวนำทาง
สำหรับการประยุกต์ใช้ปรัชญาฯ เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาจะต้องปลูกฝังและพัฒนาผู้เรียนด้วย หลักไตรสิกขา คือ ฝึกให้เด็กปฏิบัติตนมีระเบียบวินัย ไม่คิดทำอะไรเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น (ศีล) ฝึกจิตใจให้ตั้งมั่นในความดีงาม ขยันหมั่นเพียร อดทน ในการประกอบภารกิจให้ลุล่วงสำเร็จไปได้ (สมาธิ) และฝึกคิดและตัดสินใจแก้ไข่ปัญหาด้วยเหตุและผล รู้จักผิดชอบชั่วดี มีหลักคิดที่ถูกต้อง (ปัญญา) รวมทั้งต้องมีปัจจัยภายนอกที่เอื้ออำนวย เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ และเพื่อนที่เป็นกลัยาณมิตร มีสื่อการเรียนรู้ ระบบบริหารจัดการ และสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นต้น ที่จะก่อให้เกิด การพัฒนาทักษาการคิดและวิถีปฏิบัติบนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรมอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ครู ก็ต้องเป็นแบบอ่างที่ดีโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตและอบรมสั่งสอนศิษย์ และการพัฒนาระบบการศึกษาไทยบนพื้นฐานปรัชญาฯ ต้องมุ่งเน้นการฝึกฝนเรียนรู้ให้มีสติปัญญายิ่งขึ้นเรื่อย ๆ โดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้การสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่มีความหลากหลาย และต่อเนื่องตลอดชีวิตไปพร้อม ๆ กับการปลูกฝังคุณธรรมและสร้างค่านิยมให้เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคม เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้เรียน สามารถดำรงอยุ่ได้อย่างสมดุลและมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์นั่นเอง
>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร
2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น
3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่
4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่
5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร
7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่
8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่
9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่
10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่
11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร
12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่
13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่
14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่
16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่
17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่
18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร
20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่
ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)