13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่ 13/20
ได้ การดำเนินนโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมมีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ความพอดี ความมีเหตุมีผลและคล่องตัว และความระมัดระวัง โดยมุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สนับสนุนการขยายตัวของประเทศ และส่งเสริมการกระจายรายได้ ขณะเดียวกันต้องป้องกันปัญหาก่อนที่จะเกิดความรุ่นแรง โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาและต้องประสานเป้าหมายทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ด้วย
ความพอดี คือ ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป เช่น การกำหนดเป้าหมายปริมาณเงินต้องไม่มากเกินไปจนเป็นผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และไม่น้อยเกินไปจนทำให้เศรษฐกิจซบเซา
ความมีเหตุผลและความคล่องตัว คือ นโยบายการเงินและการคลังต้องสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีเหตุมีผล และคล่องตัว เช่น ในช่วงที่เศรษฐกิจมีปัญหาการใช้จ่ายเกินตัว นโยบายการเงินควีมีลักษณะเข้มงวด ขณะที่เศรษฐกิจซบเซาแนวนโยบายการเงินก็ควรเปลี่ยนเป็นผ่อนคลาย
ความระมัดระวัง การเปลี่ยนแนวนโยบายการเงินการคลัง ต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ เพราะการเร่งรีบดำเนินนโยบายเร็วจนเกินไปอาจก่อให้เกินผลเสียได้
การป้องกันปัญหาก่อนที่จะรุนแรงขึ้น การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจทั้งทางการเงินการคลังต้องพิจารณาถึงปัญหาในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต กรณีที่ปัญหามีแนวโน้มที่จะรุนแรงขึ้นจนกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ทางการควรดำเนินมาตรการอย่างเหมาะสมทันต่อสถานการณ์ในลักษณะป้องกันไม่ให้ปัญหาลุกลามก่อนจุดวิกฤตมาถึง
ผลกระทบของนโยบาย ต้องพิจารณาจากทั้งระดับส่วนรวมและระดับย่อยควบคู่กันไป เปาหมายหลักอาจต้องดำเนินนโยบายอย่างเข้มงวด และต้องเข้าไปดูแลให้ปัญหาระดับย่อมไม่รุนแรงจนเกินไปด้วยมาตรการเสริมอื่น ๆ
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ สามารถยกตัวอย่างได้เช่น ในด้านของการจัดการดอกเบี้ย หรือการจัดการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ควรอยู่บนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล ความพอดี ไม่สูงไม่ต่ำเกินไปจนทำให้เกิดความเสี่ยงภัยและภาวะวิกฤตตามมา ซึ่งการจัดการในระดับพอดีนี้ จะสร้างความสมดุลและความยั่งยืนในระบบเศรษฐกิจได้ นั่นคือแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแฝงตัวอยู่ในมาตรการด้านการเงินการคลังนั่นเอง
ในการประสานเป้าหมายทางเศรษฐกิจบนพื้นฐานทางสายกลาง ยกตัวอย่างเช่น การดำเนินนโยบายการเงินการคลังต้องคำนึงถึงเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญต่าง ๆ ให้ครบถ้วน โดยเฉพาะด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโตของประเทศ ซึ่งในบ้างครั้งอาจไม่สนองทั้งสองเป้าหมาย อาจต้องลดเป้าหมายหนึ่งเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอีกด้านที่สำคัญกว่า เพื่อให้เกิดความสมดุลและนำไปสู่ความพอเพียงในที่สุด
>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร
2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น
3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่
4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่
5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร
7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่
8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่
9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่
10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่
11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร
12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่
13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่
14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่
16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่
17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่
18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร
20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่
ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)