ลาออกจากงาน ‘ปลูกกุยช่าย’ แค่ 2 ไร่ กำไรงาม สร้างรายได้ได้ทั้งปี

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน


ลาออกจากงาน ‘ปลูกกุยช่าย’ แค่ 2 ไร่ กำไรงาม สร้างรายได้ได้ทั้งปี

คุณนิดหนุ่มชาวโคราช ดีกรีปริญญาตรี ลาออกจากงานประจำหันมาทำเกษตร หลังจากทำงานประจำแต่งานไม่ตอบโจทย์ของชีวิต แถมไม่มีเวลาให้ครอบครัว จึงหันมาปลูกกุยช่ายเป็นอาชีพ ในพื้นที่ 2 ไร่

ในช่วงแรกเริ่มปลูกกุยช่ายเพียงแค่ 2 ไร่ และได้จังหวะผักราคาดี ขายได้กำไรงาม ต่อมาจึงขยายพื้นที่ปลูกเป็น 6 ไร่ แต่ดูแลไม่ทั่วถึง จึงลดพื้นที่ปลูกเหลือ 2 ไร่ตามเดิม กำลังดี ตามทำสอนของพ่อหลวง ร.๙ “พอเพียง”

วิธีการปลูกกุยช่ายใบ
การปลูกกุยช่าย คุณนิดจะใช้วิธีปลูกโดยการใช้ต้นพันธุ์ที่ซื้อมาตามไร่ที่ปลูกอยู่แล้ว หรือซื้อตามตลาดค้าส่งผัก แล้วแบ่งต้นปลูกหลุมละ 2 ต้น โดย 2 ไร่ จะใช้ต้นกุยช่ายประมาณ 100 กิโลกรัม โดยวิธีปลูกจะเริ่มจาก

1. เตรียมแปลงปลูกโดยการไถดะ และไถแปรจนดินมีความละเอียด และใส่ปุ๋ยคอกไร่ละ 1-2 ตัน คลุกเคล้าให้เข้ากันยกร่องกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวก็แล้วแต่พื้นที่

2. การปลูกใจขีดเป็นตารางสำหรับปลูก ช่องละ 30 เซนติเมตร โดยปลูกตรงมุมที่เส้นตัดกัน

3. ต้นพันธุ์ที่ได้มาจะต้องนำไปตัดใบและรากออกเสียก่อน แล้วนำไปแช่เครื่องดื่มชูกกำลัง 1 ฝา ต่อน้ำ 10 ลิตร แช่ไว้ 10-15 นาที (แทนน้ำยาเร่งราก) หรือจะใช้น้ำยาเร่งรากก็ได้

4. เวลาปลูกให้ใช้ไม้หรือเสียมเล็กขุนดินลงไปเล็กน้อยให้พอกลบโคนต้นกุยช่ายได้ ปลูกหลุมละ 2 ต้น ตามรอยมุนตัดที่ขีดไว้ หลังจากนั้นก็หาฟางข้าวมาคลุมในแปลงเพื่อรักษาความชื่้นให้ดินจนทั่วแปลง


การดูแลกุยช่าย

การให้น้ำกุยช่าย
การให้น้ำจะให้ด้วยสปริงเกอร์ วันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง เย็น ครั้งละ 3-5 นาที (แนะนำให้ปลูกผักพี่เลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกทาง คือ ผักสลัด, ผักชี, ผักที่มีอายุเก็บเกี่ยวระยะสั้น ไม่เกิน 50 วัน ที่ต้นไม่สูงมาก หลังจากปลุกกุยช่ายไปแล้ว 2-3 วัน) พอกุยช่ายและผักพี่เลี้ยงเริ่มตั้งตัได้ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะลดเวลารดน้ำช่วงเที่ยงออก ให้เหลือแต่ เช้ากับเย็น

การให้ปุ๋ยกุยช่าย
1. จะใส่ปุ๋ยครั้งแรกเมื่อครบ 15 วัน โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 ด้วยวิธีหว่านแล้วรดน้ำทันทีเพื่อให้ต้นกุยช่ายดูดน้ำที่เจือจางปุ๋ยให้ได้มากที่สุด (ก่อนที่จะใส่ปุ๋ยควรงดรดน้ำตอนเย็นก่อนวันจะใส่ปุ๋ย เพื่อจะได้ใส่ปุ๋ยในตอนเช้าวันถัดมา)

2. ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 16-16-16 ทุกๆ 10 วัน เมื่อกุยช่ายครบ 4 เดือน

การเก็บเกี่ยวกุยช่าย
เมื่อกุยช่ายอายุครบ 4 เดือน จะสามารถตัดขายได้ หลังจากตัดแล้วจะทำการกำจัดวัชพืชออกด้วยการถอน และดูแลตามปกติ อีก 2 เดือน จะสามารถตัดขายได้อีกครั้ง วนไปเลื่อยๆ

กุยช่ายดอก
กุยช่ายตามท้องตลาด จะแบ่งเป็น 2 พันธุ์ คือ กุยช่ายใบ กับ กุยช่ายดอก การปลูกกุยช่ายดอก จะสลับซับซ้อนกว่า กล่าวคือ ไม่ได้ใช้ต้นปลูก เนื่องจากใบและดอกจะมีขนาดเล็ก ที่ถูกคือ จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ซึ่งเก็บจากต้นในสวนรุ่นต่อรุ่น ใช้เมล็ดหว่านในร่องแล้วคลุมด้วยฟาง จะใช้เวลา 15-20 วัน เมล็ดจะเริ่มงอก ใช้เวลาอยู่ในแปลงเพาะ 4 เดือน ต้นจะสมบูรณ์เต็มที่ แต่ยังไม่แตกกอ ก็จะถอนต้นพันธุ์มาตัดรากและใบ ปลูกเหมือนปลูกกุยช่ายใบ จะใช้เวลาอีกทั้งหมด 4 เดือน รวมเป็น 8 เดือน จึงจะเก็บผลผลิตได้

ก็จะเริ่มเก็บได้ครั้งแรก 3-4 วันครั้ง ระหว่างนี้ก็จะปลูกผักสลัดหรือผักชีเพื่อเป็นรายได้เสริมก่อนการเก็บกุยช่าย เก็บได้ประมาณ 2 เดือน ก็จะตัดกอจำหน่ายเป็นกุยช่ายใบเป็นครั้งแรก ใช้เวลาประมาณ 15 วัน ใบและดอกก็จะเก็บได้ เก็บได้ 45 วัน รวมเป็น 2 เดือนพอดี ก็จะตัดกอจำหน่ายเป็นกุยช่ายใบ เป็นครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3-4 และครั้งที่ 5 ใบเริ่มจะน้อยและมีขนาดเล็กลง ก็จะเริ่มทำกุยช่ายขาวแทน

กุยช่ายขาว

เมื่อตัดกุยช่ายมีดที่ 4 และมีดที่ 5 ใบกุยช่ายจะมีขนาดเล็ก ไม่สามารถขายเป็นกิโลได้ ในช่วงนี้ใบจะมีขนาดเล็กจึงต้องขายเป็นเข่ง เพื่อสำหรับนำไปทำขนมกุยช่ายแทน ตอนแรกผู้เขียนเข้าใจว่า กุยช่ายขาว ทำจากกุยช่ายใบ แต่จริงแล้วทำจากกุยช่ายดอก และกุยช่ายดอกก็สามารถตัดใบขายเป็นกุยช่ายใบได้อีก เลยค่อนข้างสับสน การทำกุยช่ายขาวเริ่มจากตัดมีดที่ 5 ก็จะครอบด้วยกระถางเลย สมัยก่อนกระถางจะทำด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันเป็นกระถางพลาสติก เมื่อครอบกระถางแล้ว ก็จะรดน้ำให้ดินนิ่ม จะต้องกดกระถางให้ปากกระถางจมดินลงไป ไม่ให้มีแสงผ่านเข้าได้


ช่วงที่ทำกุยช่ายขาวจะต้องรดน้ำให้มากกว่าปกติ เพราะกุยช่ายสามารถดูดน้ำได้ทางรากเท่านั้น ใบถูกกระถางครอบไม่สามารถสัมผัสน้ำได้เลย ในวันรุ่งขึ้นให้ใส่ปุ๋ยยูเรียรอบๆ กระถางแล้วรดน้ำ เมื่อถึงวันที่สามต้องขึงซาแรนคลุมกระถาง เพื่อป้องกันความร้อน โดยจะขึงสูงกว่ากระถางประมาณ 50 เซนติเมตร โดยใช้ไม้ตีเป็นโครงเอาแบบง่ายๆ เพราะอีก 7 วัน ก็สามารถตัดกุยช่ายขายได้แล้ว นับรวมเวลาที่ครอบจะใช้เวลาเพียง 10 วันเท่านั้น เพื่อทำกุยช่ายขาว หลังจากทำกุยช่ายขาวแล้วจะต้องเว้นระยะการทำไป 1 รุ่น คือ 2 เดือน

โดยปล่อยให้ต้นกุยช่ายเติบโตตามปกติและเก็บดอกขายไปเรื่อย พร้อมตัดกอขายเป็นกุยช่ายใบเมื่อครบ 2 เดือน หลังจากนั้น จึงสามารถทำกุยช่ายขาวได้อีก วนเวียนกันไปแบบนี้จนต้นโทรม จะทำกุยช่ายขาวต่อได้อีก 4-5 ครั้ง รวมระยะเวลาต้นกุยช่ายที่หว่านเมล็ดจนถึงรื้อแปลง จะใช้เวลาประมาณ 2 ปี 6 เดือน ก็จะเริ่มปลูกกุยช่ายใหม่

ที่มา : เทคโนโลยีชาวบ้าน
เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา

อ่าน :  เปิดคำสอนแป๊ะโรงสี ถ้าอยากค้าขายดี จำประโยคนี้ไว้ให้มั่น


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง