วิธีการแก้ปัญหาดินเค็ม ด้วยทฤษฏีการห่มดิน ตามพระราชดำริ ของพ่อหลวง ร.๙

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีการแก้ปัญหาดินเค็ม ด้วยทฤษฏีการห่มดิน ตามพระราชดำริ ของพ่อหลวง ร.๙

ดิน ถือเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญอย่างหนึ่งเคียงคู่กับ “น้ำ” ในการทำเกษตร ต่อให้มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์ แต่มีดินที่เลว กล่าวคือ โครงสร้างแน่น อัดตัวเป็นก้อน ปราศจากธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช ก็เป็นการยากต่อการปลูกพืชไม่ว่าพืชชนิดใดๆ

นอกจากนี้ ปัญหาเรื่องดินนับเป็นปัญหาสำคัญต่อเกษตรกรไทยเป็นอย่างมาก ในแต่ละพื้นที่ก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับดินแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินดาน ดินทรายที่ต้องอาศัยความรู้ในการปรับดินให้เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชในแต่ละชนิด พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร “ทรงเป็นปราชญ์แห่งน้ำและดินแห่งโลก” ทรงมีแนวพระราชดำริ ที่สำคัญหลายโครงการในด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน จนเมื่อปี 2556 ที่ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติ มีมติให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก” และต่อมาในปี 2558 กำหนดให้เป็น “ปีแห่งดินสากล”

หนึ่งในพระราชดำริที่พระราชทานให้กับเกษตรกรไทยในการดูแลและรักษาดินอีกทางหนึ่ง นั่นคือ “การห่มดิน” ทรงมีรับสั่งให้“ห่มดิน อย่าเปลือยดิน” เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำ งานได้ดี ส่งผลให้ดินทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันการชะล้าง พังทลายของดิน และพัฒนาทรัพยากรดินให้เกิดแร่ธาตุ ทั้งนี้ การห่มดินมีอยู่ด้วยกันหลายวิธีการ เช่น ใช้ฟางและเศษใบไม้มาห่มดิน การใช้พรมใยปาล์มซึ่งทำมาจากปาล์มที่ผ่านการรีดน้ำมันแล้ว เริ่มจากการนำทะลายปาล์มมาตะกุยให้เป็นเส้นๆ ก่อนจะเอาไปอัดให้เป็นแผ่น เป็นผ้าห่มดินนอกจากประโยชน์ที่กล่าวไปแล้ว การห่มดินยังจะช่วยคลุมหน้าดินไม่ให้วัชพืชขึ้นรบกวนต้นไม้พืชหลักอีกด้วย

การห่มดิน ถือเป็นวิธีการที่เพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน หรือเป็นการปรับปรุงดินก่อนการเพาะปลูก ดินที่ดีสังเกตจะมีเชื้อราเกิดขึ้นและต้องใช้ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพ จะทำให้ดินมีความสมบูรณ์ขึ้น การปลูกหญ้าแฝกไปด้วยใบแฝกก็ตัดมาห่มดินได้ การห่มดินเพื่อให้จุลินทรีย์ในดินมีความอุดมสมบูรณ์ ถ้าเปลือยดินไว้ จะทำให้จุลินทรีย์ตาย และต้นไม้จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้

การแก้ปัญหาดินเค็มด้วยทฤษฏีการห่มดิน


ขั้นที่ 1 ทำการพรวนหน้าดินให้มีความร่วนซุย อากาศและน้ำถ่ายเทได้สะดวก

ขั้นที่ 2 ป้องกันและรักษาความชื้นในดินโดยการโรยเมล็ดถั่วเขียวลงไปในดิน เพื่อช่วยรักษาระบบนิเวศ

ขั้นที่ 3 หลังจากโรยถั่วเขียวเสร็จแล้วให้พืชพันธุ์ที่มีความทนเค็ม เช่น ข้าวหอมมะลิ 105 ข้าวแดงน้อย ถั่ว แค โรยผสมลงไปกับถั่วเขียว

ขั้นที่ 4 นำเศษหญ้า ใบไม้ ฟางข้าว หรือวัสดุธรรมชาติอื่นๆ แต่ถ้าเป็นฟางข้าวจะให้ผลดีที่สุด นำมาปกคลุมดินไว้เพื่อรักษาความชื้นในดินไม่ให้ระเหยออกไปฃ

ขั้นที่ 5 ให้อาหารดินโดยการโรยปุ๋ยอินทรีย์แบบแห้งและแบบน้ำลงบนฟางข้าวที่ คลุมดินไว้ หรือสามารถใช้น้ำหมักชีวภาพรส จืด (ปุ๋ยน้ำรสจืด) โดยมีอัตราส่วน ปุ๋ยน้ำ 1 ลิตร ต่อน้ำ 100 ส่วน รดให้ทั่วฟางข้าวที่คลุมไว้

เมื่อถั่วเขียวเจริญเติบโตขึ้น จะทำให้มีการปกคลุมดินอีกชั้นรวมถึงฟางข้าว ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องถึงพื้นดินได้ดินที่อยู่ใต้ฟางข้าวและถั่วเขียวจึงมีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งธาตุอาหารและความชื้นและไม่ดูดความเค็มขึ้นมานั่นเอง

*** ถ้าโพสนี้มีประโยชร์ โปรแชร์ต่อ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแก่ผู้พบเห็น


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น - นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง