เผยเทคนิคเลี้ยง “แมงดานา” ในบ่อดิน ลงทุนน้อย สร้างรายได้ 3 หมื่นบาทต่อเดือน

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เผยเทคนิคเลี้ยง “แมงดานา” ในบ่อดิน ลงทุนน้อย สร้างรายได้ 3 หมื่นบาทต่อเดือน

เจ้าแมงดานาตัวน้อยนี้มันสามารถสร้างรายได้ให้กับคนเลี้ยงได้สักแค่ไหนกัน และคำถามต่างๆก็เริ่มเกิดขึ้นในหัวผม และอดไม่ได้ที่จะหาข้อมูลมาให้เพื่อนๆได้ศึกษาไปพร้อมๆกัน มาดู วิธีการเลี้ยงแมงดานา แมลงเศรษฐกิจ สร้างรายได้งาม กันครับ

ทำไมต้องเป็นแมงดานา ? สิ่งแรกๆที่ทำให้ผมอดสงสัยไม่ได้ ก็คือ ทำไมต้องเป็นแมงดานา มีอีกตั้งเยอะๆตั้งแยะ ที่ให้ทำ ทั้งจิ้งหรีด เห็ด ดักแด้ พอค้นหาข้อมูลดูสักหน่อยก็ต้องบอกว่า แมงดานานี่ราคาไม่ใช่เล่นๆนะครับ ขายกันเป็นตัวไม่ต้องชั่งกิโล ราคาก็อยู่ราวๆ7-12 บาท โดยตัวผู้ที่มีกลิ่นหอม(บางคนบอกว่าฉุน) ราคา 10-12 บาท ส่วนตัวเมีย อยู่ที่ 7-10 บาท ระยะเวลาจากแรกเกิดจนถึงส่งขายใช้เวลา 30-45 วัน นั่นหมายความว่า ต้องเลี้ยง 2,500 ตัว เพื่อให้มีรายได้เดือนละ 30,000 บาท อืม…น่าคิดๆ

แมงดานาโตในที่แบบไหน ? การเตรียมบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา ขนาดบ่อสำหรับเลี้ยงแมงดานา มีความลึก 1 เมตร ขอบบ่อสำหรับให้แมงดานาขึ้นมาพักจากน้ำ กว้างจากบ่อเลี้ย 1 เมตร ก้นบ่อและปากบ่อควรทำมุม 45 องศาหรือมากกว่าเพื่อให้แมงดานาปีนขึ้นจากน้ำได้ง่าย ขนาดของบ่อควรเป็น 4 เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวเป็นสองเท่าของความกว้าง(อย่างน้อย 2 เมตร) ปริมาณน้ำในบ่อ ควรลึก 35-80 เซ็นติเมตร ปรับสภาพบ่อให้เหมือนธรรมชาติมีต้นไม้บ้าง และมีการเตรียมที่วางไข่ให้แมงดานาด้วย

*** ควรมีตาข่ายคลุ่มบ่อ เพื่อป้องกันแมงดาปีนหนีไป และป้องกันพวกนก ไก่ เป็น ฯลฯ เข้าไปทำความเสียหายให้กับธุรกิจของเราด้วย มุงหลังคาให้สามารถกันแดด กันฝนได้ ไม่ควรใช้สักกะสีมุงหลังคา เพราะจะทำให้อากาศร้อนเกินไป ควรใช้ หญ้า หรือ กระเบืองจะดีกว่าครับ

แมงดานากินอะไร ? อาหารของแมงดานา เป็นสิ่งที่หาได้ตามธรรมชาติ(หรือตลาดก็มีขาย) ได้แก่ ลูกปลาตัวเล็กๆ ลูกอ๊อด กุ้ง (ห้ามใช้ลูกคางคกเพราะมีพิษ)

ต้องเลี้ยงเท่าไหรถึงจะพอทำรายได้ ? ในระยะแรกๆ ให้ทดลองเลี้ยงดูก่อน ให้ทดลองที่ 10-20 คู่(ตัวผู้กับตัวเมีย ซึ่งบางครั้ง สามารถใช้ ตัวผู้หนึ่งตัว ต่อตัวเมีย 5 ตัวก็ได้ แบบนี้ค่อยสมกับเป็นแมงดาหน่อยเนอะ) ซึ่งพ่อพันธุ์แม่พันธุ์แต่ละรุ่นสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครับในระยะห่างกัน 1 เดือน ซึ่งพอครบ 3 ครั้งก็สามารถจับขาย และเลือกลูกๆที่โตมาทำเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์รุ่นต่อไปแทน

การวางไข่แต่ละครั้งของแม่แมงดานาจะอยู่ที่ประมาณ 100-200 ฟอง ซึ่งการเลี้ยงแม่พันธุ์ 20 ตัวก็สามารถให้ลูกแมงดาได้ 2,000-4,000 ตัวต่อการเลี้ยงหนึ่งครั้งเลยทีเดียว ดูแล้วไม่ยาก และไม่นานเกินไปแล้วใช่ไหมละครับกับผลตอบแทนระดับ 30,000 ต่อเดือน

ต้องดูแลอย่างไรบ้าง ? การดูแลแมงดานา ไม่ได้ยากเย็นเลยนะครับเพราะว่าแมงดานาเป็นสัตว์ที่อาศัยตามธรรมชาติของบ้านเราอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่องเรื่องอุณหภูมิน้ำ ภูมิอากาศ แต่ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือ

1. การถูกรบกวนจาก คน สัตว์เลี้ยง และแสงไฟ เพราะสิ่งเหล่านี้จะรบกวนการเจริญเติบโต และการพักผ่อนของแมงดานาได้

2. ความสะอาดของน้ำ ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือหากเริ่มมีกลิ่นเหม็น เก็บเศษอาหารที่ที่ลูกแมงดากินไม่หมด

3. เห็บหรือไร จะมากัดแมงดาหากว่าน้ำสกปรก แมงดานามีศัตรูตามธรรมชาติไหม? แน่นอนครับว่า สัตว์ทุกชนิดย่อมมีศัตรูตามธรรมชาติ และแมงดานาก็ไม่เว้น ยกตัวอย่างเช่น

4. ดมจะคอยกัดแมงดานา จนตาย และคอยกัดกินไข่แมงดา หากว่าสามารถเข้าถึงได้

5. แมงดานาเป็นศัตรูกันเองด้วย หากว่ามีอาหารไม่เพียงพอ ก็ทำให้ตัวอ่อนกินกันเองได้

6. เห็บจะกัดตามตัวของแมงดานาขนาดใหญ่ ซึ่งมันจะดูดกินเลือดของแมงดานาจนตายได้ ตัวเห็นจะมีลักษณะเหมือนไข่เล็กๆ สีน้ำตาลเกาะตามท้องของแมงดา การแก้ไขให้เปลี่ยน้ำให้บ่อยขึ้น ลดจำนวนแมงดาต่อบ่อให้น้อยลง

7. ตัวทาก ลักษณะคล้ายปลิง ทำให้แมงดาโตได้ไม่เต็มที่

การจับแมงดานา
1. ใช้มือจับ

2. ใช้สวิงจับหรือช้อนตามไม้น้ำ

3. ใช้แสงไฟล่อ ติดตั้งหลอดแบล็กไลต์บนเสาไม้ไผ่สูงๆ ใช้ตาข่ายขึง กั้นให้สูงแมงดาจะมาเล่นไฟ

4. ปัจจุบันมีเครื่องมือจับแมงดานาแบบพื้นบ้านซึ่งเป็นผลงานการคิดค้นของจ่าสาย ศรีสมุทร สภอ.นาแก จังหวัดนครพนม โดยการใช้สังกะสีแผ่นเรียบมาตัดต่อบัดกรีให้เรียบร้อยเป็นกรวยปากกว้าง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 เมตร ความสูงของกรวย 1 เมตร และด้านล่างทำเป็นท่อกลวงขนาดกระป๋องนม ยาวประมาณ 30 ซม. การติดตั้งเครื่องมือให้เลือกสถานที่ใกล้แหล่งน้ำ โดยตั้งเสาสูงประมาณ 6 เมตรติดหลอดแบล็กไลต์ไว้ล่อแมงดา ด้านล่างติดตั้งกรวยสังกะสีหงายปากกรวยขึ้น มีไฟนีออนสีฟ้าล่อไว้อีกดวงหนึ่งที่ปากกรวยนั้น ส่วนด้านล่างสุดใช้ถุงปุ๋ยที่ไม่ขาดทะลุสวมเข้าที่ท่อกลวงด้านล่างผูกติดให้แน่น ซึ่งแสงจากหลอดแบล็กไลต์จะล่อแมงดาให้มาที่นี่ ส่วนแสงสีฟ้าจากหลอดนีออนเมื่อสะท้อนจากปากกรวยสังกะสีจะดูคล้ายๆกับแหล่งน้ำขนาดเล็ก ดึงดูดใจให้แมงดาบินลงกรวยในที่สุด ซึ่งการจับด้วยวิธีนี้สะดวก เพราะเราไม่ต้องนั่งเฝ้า รอไว้ดูตอนเช้าเลยทีเดียว

การนำแมงดามาปรุงอาหาร
1. ไข่แมงดานา นำมาย่างไฟหรือกินสดๆ

2. ตัวเต็มวัย ตัวเมียชุบแป้งทอด ทำแกงคั่วแมงดานา ตัวผู้มีกลิ่นหอมทำให้เพิ่มรสชาติอาหาร นำมาทำน้ำพริกแมงดา แจ่วแมงดานา น้ำพริกปลาร้า น้ำปลาแมงดา หรือดองแช่น้ำปลาไว้ขายราคาแพง (ตุลาคม-มีนาคม)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  แตนเบียน สายพันธุ์ Holepyris sp. แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

เรื่องที่เกี่ยวข้อง