รู้หรือไม่ ปลูกไม้มีค่า 58 ชนิด เป็นหลักประกันกู้เงินธนาคาร ได้ง่ายๆ

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

รู้หรือไม่ ปลูกไม้มีค่า 58 ชนิด เป็นหลักประกันกู้เงินธนาคาร ได้ง่ายๆ

ไม้มีค่า 58 ชนิด คือ ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ สามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ สามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ได้ โดยกำหนดให้เป็นต้นไม้ตามบัญชีแนบท้ายพระราชบัญญัติ สวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 โดยไม้ 58 ชนิดนี้ นอกจากสามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุกริจได้แล้ว ยังสามารถขึ้นทะเบียนสวนป่าได้อีกด้วย

ทำความรู้จักต้นไม้มีค่า 58 ชนิด
สำหรับไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจจะมีทั้งหมด 58 ชนิดนั้นนะคะ ซึ่งเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาให้ “ไม้ยืนต้น” เป็น “ทรัพย์สินที่สามารถใช้เป็นหลักประกันทางธุรกิจ” ได้

และหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้ออกกฎกระทรวงทำให้สถาบันการเงิน และ ผู้ที่รับหลักประกันนั้นสามารถเพิ่มประเภทของหลักทรัพย์ในการให้สินเชื่อมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งข้อนี้มีผลดีต่อทั้งสถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ เกษตรกร และประชาชนท่านอื่นที่ต้องการใช้ต้นไม้ยืนต้นเพื่อสินเชื่อ และยังมีกฎหมายรองรับแบบชัดเจนอีกด้วย ซึ่งต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า จะสามารถแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าต่ำ เช่น ยูคาลิปตัส สัตตบรรณ กระถินเทพา กระถินณรงค์ ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ประดู่ ยางนา กระบาก สะตอ ฯลฯ

กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง ได้แก่ สัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง ชิงชัน จันทน์หอม มะค่าโมง ฯลฯ เป็นต้น

สำหรับต้นไม้ที่มีค่าสามารถนำมาค้ำประกันเงินกู้ได้ จำนวน 58 ชนิด ประกอบด้วย

1. สัก
2. พะยูง
3. ชิงชัน
4. กระซิก
5. กระพี้เขาควาย
6. สาธร
7. แดง
8. ประดู่ป่า
9. ประดู่บ้าน
10. มะค่าโมง
11. มะค่าแต้
12. เคี่ยม
13. เคี่ยมคะนอง
14. เต็ง
15. รัง
16. พะยอม
17. ตะเคียนทอง
18. ตะเคียนหิน
19. ตะเคียนชันตาแมว
20. ไม้สกุลยาง
21. สะเดา
22. สะเดาเทียม
23. ตะกู
24. ยมหิน
25. ยมหอม
26. นางพญาเสือโคร่ง
27. นนทรี
28. สัตบรรณ
29. ตีนเป็ดทะเล
30. พฤกษ์
31. ปีบ
32. ตะแบกนา
33. เสลา
34. อินทนิลน้ำ
35. ตะแบกเลือด
36. นากบุด
37. ไม้สกุลจำปี
38. แคนา
39. กัลปพฤกษ์
40. ราชพฤกษ์
41. สุพรรณิการ์
42. เหลืองปรีดียาธร
43. มะหาด
44. มะขามป้อม
45. หว้า
46. จามจุรี
47. พลับพลา
48. กันเกรา
49. กระทังใบใหญ่
50. หลุมพอ
51. กฤษณา
52. ไม้หอม
53. เทพทาโร
54. ฝาง
55. ไผ่ทุกชนิด
56. ไม้สกุลมะม่วง
57. ไม้สกุลทุเรียน
58. มะขาม

จากการตรวจสอบสถิติผู้ที่จดทะเบียนเพื่อนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.46 แสนต้น ซึ่งเป็นจำนวนเงินค้ำประกันกว่า 137 ล้านบาท โดยมีการจดทะเบียนการนำต้นไม้มาเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ดังนี้

– ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนต้นไม้ 318 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 3 ล้านกว่าบาท

– ธนาคารกรุงไทย จำนวน 23,000 ต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 128 ล้านบาท

– พิโกไฟแนนซ์ จำนวนต้นไม้ 1.2 แสนต้น จำนวนเงินค้ำประกัน 6 ล้านบาท

เงื่อนไขในการใช้ต้นไม้มีค่าเป็นหลักประกัน
สำหรับเงื่อนไขในการใช้ต้นไม้มีค่าเป็นหลักประกันนั้น จะต้องตรงตามเกณฑ์ที่กฎกระทรวงรองรับ โดยจะมีรายละเอียดดังนี้

  • จะต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป
  • มีลำต้นเป็นแนวตรง 2 เมตรขึ้นไป
  • ต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินของตนเอง
  • การวัดมูลค่าจะต้องมีกรรมการและสมาชิกธนาคาร อย่างน้อย 3 คนร่วมประเมินมูลค่า
  • ต้นไม้เป็นรายต้นที่ความสูง 1.30 เมตร
  • ต้นไม้จะต้องมีเส้นรอบวงของต้น ไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร และเปรียบเทียบเส้นรอบวงที่วัดได้ กับตารางปริมาณ และราคาเนื้อไม้ ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เพื่อหามูลค่าต้นไม้ และจะปล่อยกู้ให้ 50% ของราคาประเมินต้นไม้ชนิดนั้น ๆ
อ่าน :  ไขปมสงสัย บ.วีเอท ทุนจดทะเบียนแค่ 2 ล้าน แต่ทำไมชนะประมูลข้าว เกือบ 300 ล้านบาท

ตัวอย่าง ที่ดินที่นำมาจดจำนองขอสินเชื่อ

  • หากที่ดินที่นำมาจดจำนองขอสินเชื่อ มีราคาประเมิน 800,000 บาท
  • ปกติจะกู้ได้ร้อยละ 50 ของราคาประเมิน หรือ 400,000 บาท

แต่หากผู้กู้มีต้นไม้ ซึ่งมีมูลค่าตามการประเมินมูลค่าต้นไม้รวมทั้งสิ้น 400,000 บาท ก็จะใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ร้อยละ 50 หรือ 200,000 บาท

  • ดังนั้น ผู้กู้รายนี้ จะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งสิ้น 1,200,000 บาท (ราคาประเมินที่ดิน 800,000 + มูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เป็นต้นไม้ 200,000)
  • และจะสามารถได้วงเงินกู้ 600,000 บาท หรือร้อยละ 50 ของ 1,200,000 บาท ซึ่งหมายความว่า ได้เพิ่มจากราคาประเมินที่ดินเปล่า 200,000 บาท เป็นต้น

การคำนวณปริมาตร และ มูลค่าของต้นไม้
ซึ่งการคำนวณปริมาตร และ มูลค่าของต้นไม้นั้น เราจะสามารถตรวจสอบและประเมินได้จากราคากลางต้นไม้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั่นเอง

ตัวอย่างการใช้ตาราง
หากผู้ประเมินวัดไม้สักซึ่งมีขนาดวัดรอบเพียงอก = 78.5 ซม. ซึ่งไม้สักจะอยู่ในกลุ่มที่ 3 ให้เพื่อนๆ ดูตารางที่ 3 เพื่อตรวจสอบและประเมินมูลค่าของต้นไม้จากขนาดเส้นรอบวง

หากขนาดที่เราวัดได้ไม่มีปรากฏในตาราง หรือ ได้ขนาดที่ไม่ตรงตามตารางให้เพื่อนๆ คำนวณมูลค่าต้นไม้โดยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ กับ มูลค่าของต้นไม้ในขนาดที่ใกล้เคียงที่สุด

ดังนั้นจะได้ข้อสรุปว่า “ไม้สักที่มีขนาดรอบเพียงอก = 78.5 ซม (ดูเส้นรอบวงที่ 75.74 ซม.) จะมีมูลค่า = 2,223 บาท” โดยไม่ต้องพิจารณาว่าต้นไม้ที่นำมาประเมินมีอายุเท่าไหร่

ซึ่งรายละเอียดนั้นจะแบ่งออกเป็นตารางราคากลางดังนี้

สถาบันการเงินที่เข้าร่วม
สำหรับสถาบันการเงินที่เขาร่วม การนำต้นไม้มีค่ามาเป็นหลักประกันนะคะตอนนี้จะมีอยู่ทั้งหมด 1 สถาบัน ซึ่งมีดังนี้

1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
สำหรับธนาคารแรกนะคะ จะเป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) นั่นเอง ซึ่งเงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ จะมีดังนี้

คุณสมบัติของเกษตรกรที่ประสงค์จะกู้เงินโดยใช้ไม้ยืนต้นที่มีค่ามาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน
– เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส.
– เป็นสมาชิกของธนาคารต้นไม้

เกษตรกรที่สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยขั้นตอนการกู้เงินเป็นไปตามระเบียบของ ธ.ก.ส.


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง