ตัวห้ำ มวนเทาขาลาย Peregrinator biannulipes (Montrouzier & Signoret) แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ตัวห้ำ มวนเทาขาลาย Peregrinator biannulipes (Montrouzier & Signoret) แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Peregrinator biannulipes (Montrouzier & Signoret) (Heteroptera : Reduviidae)

รูปร่างลักษณะ ชีวประวัติ และอุปนิสัย
ตัวเต็มวัย ของมวนเทาขาลาย มีขนาดลำตัวยาว 6.0-7.0 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายปีกคู่แรกสีดำ ลำตัวปกคลุมด้วยขนยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ชอบอาศัยหลบซ่อนอาศัยบริเวณที่มีฝุ่นปกคลุม บางครั้งมีฝุ่นคลุมตัวตลอด มวนชนิดนี้เป็นตัวห้ำทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย มีปากแบบแทงดูดทำลายแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรโดยใช้ปากแทงลงไปในลำตัวแมลง แล้วจึงปล่อยสารพิษทำให้แมลงหรือเหยื่อเป็นอัมพาตหลังจากนั้นจึงดูดของเหลวภายในจนเหยื่อแห้งตาย มวนเทาขาลายสามารถทำลาย ไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรได้หลายชนิด ได้แก่ มอดแป้ง มอดข้าวเปลือก มอดฟันเลื่อย ด้วงอิฐ และมอดยาสูบ ทั้งหนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย มวนเทาขาลายวางไข่ได้ 173-382 ฟอง โดยวางเป็นฟองเดี่ยว ๆ ไข่ มีลักษณะยาวรีสีน้ำตาลอ่อน ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 7-11 วัน ตัวอ่อน มีการลอกคราบเป็นตัวอ่อน 5 วัย หรือบางครั้ง 6 วัย อายุประมาณ 24-62 วัน ตัวเต็มวัย มีชีวิตอยู่ได้นาน 83-254 วัน วงจรชีวิตใช้เวลา 136-301 วัน อัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมีย คือ 1:1.42 และเพศเมียมีชีวิตยืนยาวกว่าเพศผู้ คือ 185.9 และ 175.2 วัน ตามลำดับ มวนเทาขาลายทุกวัย มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายระยะตัวหนอนดักแด้ และตัวเต็มวัย และสามารถทำลายแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรได้หลายชนิด

ภาพ – วงจรชีวิต ตัวห้ำ มวนเทาขาลาย Peregrinator biannulipes (Montrouzier & Signoret)

เขตการแพร่กระจาย
เขตร้อนชื้น

แมลงอาศัย
Gnatocerus cornutus (Fabricius), มอดแป้ง Tribolium castaneum (Herbst), มอดข้าวเปลือก Rhyzopertha dominica (Fabricius), มอดฟันเลื่อย Oryzaephilus surinamensis Linnaeus, ด้วงอิฐ Trogoderma granarium Everts, มอดยาสูบ Lasioderma serricorne (Fabricius), Palorus ratzeburgi (Wissmann), Palorus subdepressus (Wollaston), Sitophilus spp., ผีเสื้อข้าวสาร Corcyra cephalonica Stainton, ผีเสื้ออินเดีย Plodia interpunctella (Hübner) และ Paralipsa gularis (Zeller)

-*-*-*-*-

ตัวห้ำ ที่พบนในประเทศไทย
จากการสำรวจศัตรูธรรมชาติในโรงสี โกดังเก็บข้าว ทั้งของราชการและเอกชน พบตัวห้ำทั้งหมด 29 ชนิด ซึ่งจัดอยู่ใน 4 อันดับคือ Coleoptera, Dermaptera, Diptera และ Heteroptera สำหรับอันดับ Coleoptera พบแมลงที่เป็นด้วงตัวห้ำ 12 ชนิด อันดับ Dermaptera พบตัวห้ำ 4 ชนิด อันดับ Diptera พบแมลงวันตัวห้ำ 1 ชนิด และอันดับ Heteroptera พบมวนตัวห้ำทั้งหมด 13 ชนิด แต่ตัวห้ำที่สำคัญและพบมากที่สุดคือ Xylocoris flavipes, Joppeicus paradoxus, Amphibolus venator และ Peregrinator biannulipes

ชนิดวงศ์ของตัวห้ำ ที่พบในประเทศไทย ดังนี้

Order : Coleoptera
Family : Carabidae
Species : Chlaeminus sp., Amblystomus sp. 1, Amblystomus sp. 2, Amblystomus sp. 3, Stenolophus sp. 1, Stenolophus sp. 2, Eucolliuris sp., Zuphium sp., Aephnidius sp.

Family : Histeridae
Species : Carcinops pumilio (Erichson)

Family : Cleridae
Species : Thaneroclerus buqueti (Lefebvre), Tilloidea notata (Klug)

Order : Dermaptera
Family : Carcinophoridae
Species : Euborellia plebeja (Dohrn), Euborellia femoralis (Dohrn), Euborellia sp.

Family : Forficulidae
Species : Forficula sp.

อ่าน :  คลิป-เชื่อหรือไม่? การคลุมโคนต้นผิดวิธีก็มีข้อเสียเหมือนกัน

Order : Diptera
Family : Scenopinidae
Species : Scenopinus sp.

Order : Heteroptera
Family : Reduviidae
Species : Amphibolus venator (Klug)*(พบมาก), Peregrinator biannulipes (Montrouzier & Signoret)*(พบมาก), Vesbius purpureus (Thunberg)*(พบมาก)

Family : Joppeicidae
Species : Joppeicus paradoxus Puton*(พบมาก)

Family : Anthocoridae
Species : Cardiastethus pygmaeus Poppius*(พบมาก), Amphiareus constrictus (Stål), Physopleurella sp., Dufouriellini gen. A sp., Dufouriellini gen. B sp., Xylocoris (Arrostelus) flavipes (Reuter)*(พบมาก), Xylocoris (Proxylocoris) sp. 1*(พบมาก), Xylocoris (Proxylocoris) sp. 2*(พบมาก)

-*-*-*-*-

ที่มา : PDF แมลงที่พบในผลิตผลเกษตร และการป้องกันกำจัด โดย กองวิจัยและพัฒนาวิชาการหลักการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร – กรมวิชาการเกษตร


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง