ด้วงหลินจือ (Platydema waterhousei Gelbien) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Platydema waterhousei Gelbien (Coleoptera : Tenebrionidae)
ความสำคัญและลักษณะการทำลาย
เป็นแมลงศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายเห็ดหลินจือแห้งตั้งแต่ระยะก่อนเก็บเกี่ยวจนถึงระยะหลังเก็บเกี่ยวลักษณะการทำลาย หนอนและตัวเต็มวัยกัดทำลายเห็ดก่อให้เกิดความเสียหายมาก เนื่องจากด้วงหลินจือมีขนาดใหญ่จึงทำความเสียหายค่อนข้างมากและรวดเร็ว
รูปร่างลักษณะ ชีวประวัติ และอุปนิสัย
ไข่ รูปร่างยาวรี สีขาวนวล ไข่จะฟักภายใน 6-7 วัน หนอน มีการลอกคราบ 9 ครั้ง มีบางตัวลอกคราบ 10 ครั้ง ระยะหนอนประมาณ 26-32 วัน หลังจากนั้นหนอนขับถ่ายเส้นใยสีน้ำตาลทางทวารและสร้างเส้นใยนี้หนาแน่นขึ้นเมื่อเข้าดักแด้ ดักแด้ ระยะดักแด้ประมาณ 4-5 วัน จึงกลายเป็นตัวเต็มวัยโดยการกัดเส้นใยออกมาสู่ภายนอก ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งขนาดใหญ่ ขนาดลำตัว 5.0-6.0 มิลลิเมตร สีดำแต่ไม่มัน ส่วนหัวของตัวเต็มวัยเพศผู้จะมีเขายื่นออกไปข้างหน้า 1 คู่ ตัวเต็มวัยเพศเมียไม่มีเขา ปีกคู่หน้าจะมีหลุมเรียงเป็นแถวเป็นเส้นขนานจากด้านหน้าสู่ด้านหลัง หนวดเป็นแบบกระบองมี 11 ปล้อง โคนหนวดสีน้ำตาลแดง ตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่เป็นกลุ่มซ่อนอยู่ตามรอยแตกแยกของเห็ดหลินจือ ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุประมาณ 88-277 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียอายุ ประมาณ 100-257 วัน
ภาพ – วงจรชีวิตด้วงหลินจือ Platydema waterhousei Gelbien
การแพร่กระจายและฤดูการระบาด
การแพร่กระจาย ในเขตร้อนชื้น
พืชอาหาร
เห็ดหลินจือแห้ง
กำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ
–
-*-*-*-*-
ที่มา : PDF แมลงที่พบในผลิตผลเกษตร และการป้องกันกำจัด โดย กองวิจัยและพัฒนาวิชาการหลักการเก็บเกี่ยว และแปรรูปผลิตผลเกษตร – กรมวิชาการเกษตร