การปลูกเผือก (Taro) เป็นอาชีพ ปลูกง่ายสร้างรายได้ตลอดปี

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

การปลูกเผือก (Taro) เป็นอาชีพ ปลูกง่ายสร้างรายได้ตลอดปี

เผือก เป็นพืชล้มลุก หัวเผือกเป็นลำต้นที่เกิดอยู่ใต้ดิน ประกอบด้วยหัวใหญ่ 1 หัว และมีหัวเล็กๆ แตกออกรอบๆ ขนาดรูปร่างของหัว สีของเนื้อเผือกมีความแตกต่างกันออกไปตามพันธุ์ หัวใหญ่ มีน้ำหนักตั้งแต่ 450 กรัม – 3.5 กิโลกรัม หัวเล็กหนักตั้งแต่ 28 กรัม – 450 กรัม เนื้อเผือกมีสีขาวหรือม่วง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ประมาณ 21-27 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป้นด่างของดิน ประมาณ 5.5-5.6 อายุเก็บเกี่ยประมาณ 5-6 เดือน ต้องการน้ำฝนประมาณ 1,750-2,500 มิลลิเมตรต่อปี

การปลูกเผือก และการดูแลรักษาเผือก

การเตรียมดิน : ไถดินตากไว้ประมาณ 15-30 วัน เพื่อกำจัดวัชพืช โรคและแมลงในดิน ตามด้วยการไถพรวนเพื่อย่อยดิน

การปลูก : นำส่วนของหัวพันธุ์ลงปลูก ลึก 20-30 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะห่างแถว 1เมต ควรใส่ปุ๋ยคอกรองก้นหลุมก่อนปลูก (พื้นที่ 1 ไร่ ใช้หัวพันธุ์เผือกประมาณ 100-200 กิโลกรัม) หากต้องการสร้างรายได้ทั้งปี ให้วางแผนการปลูกเป็นแปลงๆ

การให้น้ำ : เผือกขึ้นได้ดีในดินที่มีความชุ่มชื้น ฉะนั้นการปลูกในที่ดอน นอกจากจะอาศัยน้ำฝนแล้ว จะต้องมีแหล่งน้ำให้ความชุ่มชื้นอยู่เสมอ แต่ถ้าปลูกมากกว่า 10 ไร่ขึ้นไป ควรให้น้ำแบบสปริงเกอร์

การใส่ปุ๋ย : (ใส่ปุ๋น 3 ครั้ง)
– ครั้งที่ 1 ก่อนปลูกเผือกรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 1-3 กำมือต่อต้น และปุ๋ยเคมีสูตร 18-6-6 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่

– ครั้งที่ 2 เมื่อเผือกอายุ 2 เดือน ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 18-6-6 หรือ 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

– ครั้งที่ 3 เมื่อเผือกอายุ 3-4 เดือน ใช้เคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่

*** ในการใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง ควรจะพรวนดินและรดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ

การเก็บเกี่ยว : หลังปลูกเผือกได้ 5-6 เดือน ใบเผือกจะเล็กลง ใบหน้าขึ้น ใบล่างจะเป็นสีเหลือง และเริ่มเหี่ยว เหลือใบยอด 2-3 ใบ ให้ขุดเอาหัวเผือกขึ้นมา ในการขุดเผือกควรขุดด้วยความระมัดระวัง

การเก็บรักษาเผือกหลังเก็บเกี่ยว : ก่อนขุดเผือกประมาณ 15-30 วัน ไม่ควรเอาน้ำเข้าแปลง หรือรดน้ำในแปรงเผือก และควรเก็บเผือกไว้ในห้องที่มีการระบายอาหาศได้ดี ในที่แห้ง หัวที่เก็บไว้ไม่ควรเป็นหัวที่มีบาดแผล อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส

โรค แมลง และศัตรูพืชที่สำคัญ ของเผือก

หนอนกระทู้ผัก ในเผือก

เป็นแมลงศัตรูเผือกที่ระบาดเฉพาะแหล่ง โดยเริ่มแรกผีเสื้อจะวางไข่ไว้ตามใบเผือก แล้วฟักตัวออกเป็นตัวหนอน กัดกินใบเผือกดานล่าง ถ้าหนอนกระทู้ผักระบาดมากจะกัดกินใบเผือก เสียหายทั่วแปลงได้ ทำให้เผือกลงหัวน้อย ผลผลิตต่ำ

การป้องกันและกำจัดหนอนกระทู้ผัก ในเผือก

พ่นด้วยเชื้อบีที อัตราตามคำแนะนำในฉลาก หรือพ่นด้วยสารกำจัดแมลง เช่น แลมบ์ดา ไซฮาโลทริน, ไตรอะโซฟอส, และคลอร์ฟลูอาซูรอน อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก

หนอนกระทู้ผัก ในเผือก

ไรแดง ในเผือก

เป็นแมลงศัตรูพืชขนาดเล็กที่ระบาดเฉพาะแหล่ง รูปร่างคล้ายแมงมุม ตัวเล็กมาก ลำตัวสีแดง โดยจะดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใต้ใบเผือก ทำให้เกิดรอยจุดสีน้ำตาลหรือสีขาว แล้วแห้งในที่สุด พบมากในช่วงฤดูแล้ง

การป้องกันและกำจัดไรแดง ในเผือก

พ่นด้วยสากำจัดแมลง ไดโคโฟล อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก

ไรแดง ในเผือก

โรคใบไหม้ (โรคจุดตาเสือ) ในเผือก

เกิดจากเชื้อรา Phythopthere oolooasiae Rao. อาการบนใบเกิดจุดสีน้ำตาลเกาะอยู่เป็นวงๆ เมื่อบีบจะแตกเป็นผง สีสนิม หรืออาจเน่า และถ้าอากาศชื้นมีฝนพรำ

การป้องกันและกำจัดโรคใบไหม้ ในเผือก

หากพบเป็นโรคใบจุดตาเสือ ให้ตัดใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายให้หมด ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เชื้อราจะปริวไปยังต้นอื่นๆ ได้ หรือแยะปลูกให้ห่างกัน เพื่อลดการแพร่กระจายจองโรค และใช้สารเคมีฉีดพ่น เช่น เมทาแลกซิล, โอฟูเรช อัตราการใช้ตามคำแนะนำในฉลาก

โรคใบไหม้ (โรคจุดตาเสือ) ในเผือก

โรคหัวเน่า ในเผือก

เกิดจากเชื้อรา Solerotium rolfsii โรคนี้อาจเกิดได้ระหว่างการเก็บรักษาหัวเผือก หรือมีน้ำท่วมขังแปลงปลูกเผือกในช่วงเผือกใกล้เก็บเกี่ยว

การป้องกันและกำจัดโรคหัวเน่า ในเผือก

หลีกเลี่ยงไม่ให้เผือกที่ใกล้ช่วงเก็บเกี่ยวได้รับน้ำหรือความชื้นมากเกินไป และไม่ควรกองหัวเผือกสุมกันมากๆ ควรเก็บไว้ในที่ที่มีอากาสถ่ายเทได้สะดวก

ที่มา : กรมส่งเสิรมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  ผีเสื้อข้าวเปลือก (Angoumois grain moth) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง