แนวทางป้องกันและกำจัด ไรแดง มันสำปะหลัง
รูปร่างลักษณะของไรแดงมันสำปะหลัง
ไรแดง มันสำปะหลัง เป็นแมลงประเภทปากดูด อยู่รวมเป็นกลุ่มตามใต้ใบพืช ตัวเมียขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ (Parthenogenesis) ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว วงจรชีวิตสั้นตัวเมียวางไข่ได้ 4 – 13 ฟอง วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ระยะไข่ 4 – 5 วัน ตัวอ่อนมี 3 ระยะ ระยะแรกมี 6 ขา ระยะที่ 2 – 3 มี 8 ขา รวมอายุ 6 – 10 วัน ตัวเต็มวัย มี 8 ขา อายุประมาณ 15 วัน ปกติไรแดงจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว
ชนิดของไรแดงที่เข้าทำลายมันสำปะหลัง มีอยู่ 2 ชนิด คือ
– ไรแดงหม่อน Tetranychus truncatus Ehara
– ไรแดงมันสำปะหลัง Oligonychus biharensis Hirst
ลักษณะการทำลายของไรแดงมันสำปะหลัง
ไรแดงหม่อน ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่างและขยายปริมาณขึ้นส่วนยอด
ไรแดงมันสำปะหลัง ดูดกินน้ำเลี้ยงตามใต้ใบจากส่วนใบล่างและขยายปริมาณขึ้นส่วนยอดไรแดงมันสำปะหลัง ดูดกินน้ำเลี้ยงบนหลังใบของส่วนยอดและขยายปริมาณลงสู่ใบส่วนล่างทำให้ตาลีบ ใบเหลืองขีด ม้วนงอ และร่วง มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ถ้าการระบาดเกิดขึ้นในมันที่ยังเล็ก อาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายหรือทำให้การสร้างหัวของมันสำปะหลังลดลง
แนวทางการป้องกันกำจัดไรแดงมันสำปะหลัง
1. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น ด้วงเต่า Stethorus spp. ด้วงปีกสั้น และไรตัวห้ำ
2. หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในช่วงฤดูแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน
3. หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง หากพบเก็บไปเผาทำลายนอกแปลง
4. เฉพาะกรณีจำเป็นต้องใช้สารเคมีอามีทราซ 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทำลาย และไม่ควรพ่นสารเคมีซ้ำเกิน 2 ครั้ง
ที่มา : คู่มือ การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง .PDF – โดย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์