วิธีป้องกันและกำจัด โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีป้องกันและกำจัด โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava mosaic disease)

เชื้อสาเหตุ : Cassava mosaic virus
เชื้อสำเหตุโรคใบด่างมันสำปะหลัง ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด ในทวีปแอฟริกา พบ 8 ชนิด ทวีปเอเชียพบ 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีรายงานพบการระบาดของโรคนี

ลักษณะอาการ
ต้นมันสำปะหลังจะแสดงอาการใบด่างเหลือง ใบเสียรูปทรง และมีขนาดเล็กลง ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง ลำาต้นแคระแกร็น หากใช้ท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสมาปลูกจะทำให้เกิดอาการใบด่างเหลืองทั้งต้น ถ้ามันสำปะหลังได้รับการถ่ายทอดโรคจากแมลงหวี่ขาวยาสูบที่มีเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบด่างชัดเจนที่ส่วนยอดถ้าอาการรุนแรงอาจทำให้ผลผลิตลดลงถึงร้อยละ 80 – 100

พืชอาศัยของเชื้อไวรัสสาเหตุโรค : มันสำปะหลัง ละหุ่ง และสบู่ดำ
แมลงพาหะ : แมลงหวี่ขาวยาสูบ (tabacco white )
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bemisia tabaci (gennadius)

แมลงหวี่ขาวยาสูบ
แมลงหวี่ขาวยาสูบ
วงจรชีวิตของแมลงหวี่ขาว

แนวทางการป้องกันกำาจัดโรคใบด่างมันสำาปะหลัง
1. ห้ามนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังจากต่างประเทศ ยกเว้นมันเส้น และหัวมันสด ตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550

2. สอดส่องการลักลอบนำเข้าท่อนมันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์ของมันสำปะหลังจากต่างประเทศ หากพบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร

3. ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรคโดยไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหต่งที่พบการระบาดของโรค หรือแหล่งที่พบอาการของโรค หรือท่อนพันธุ์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือท่อนพันธุ์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสใบดางมันสำปะหลัง

4. สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง

5. กำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ แมลงหวี่ขาวยาสูบ

6. เฝ้าระวังการระบาดของไวรัสใบด่างในพืชอาศัยอื่นๆ ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ โดยหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น กระเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง เช่น สบู่ดำ ละหุ่ง บริเวณแปลงปลูกมันสำปะหลัง

พบอาการต้องสงสัย
1. แจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อดำเนินการแจ้งหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรตรวจสอบยืนยันการเป็นโรค จากนั้นดำเนินการกำจัดต้นมันสำปะหลังที่มีอาการต้องสงสัย โดยการขุดหรือถอนต้นมันสำปะหลังที่แสดงอาการฝังในหลุมพ่นสารกำจัดวัชพืชอะมีทรีน 80 % WG และกลบด้วยดินให้หนาไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร จากนั้นพ่นสารกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ Imidacloprid 70% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ Dinotefuran 10% SL อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ Thiamethosam 25% WG อัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร บริเวณแปลง

2. หลีกเลี่ยงการขนย้ายท่อนพันธุ์จากแหล่งที่พบอาการของโรคไปสู่แหล่งปลูกอื่นจนกว่าจะมีการยืนยันว่าไม่เป็นโรค

3. ติดตามสถานการณ์การระบาดทุก 2 สัปดาห์

4. หลังการติดตามสถานการณ์การระบาดทุก 2 สัปดาห์ หากยังพบอาการคล้ายโรคใบด่างมันสำปะหลัง ให้ดำเนินการตามข้อ 1 และห้ามนำมันสำปะหลังจากแปลงนี้ไปทำพันธุ์

ที่มา : คู่มือ การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง .PDF – โดย กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  การควบคุมโรคใบจุด ของ "กล้วยหอมทอง" ด้วยงบ 5 บ.

เรื่องที่เกี่ยวข้อง