ปุ๋ยคอก วิธีใช้ให้ถูก ขี้หมู กินหัว – ขี้วัว กินใบ – ขี้ไก่ กินผล

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ปุ๋ยคอก วิธีใช้ให้ถูก ขี้หมู กินหัว – ขี้วัว กินใบ – ขี้ไก่ กินผล

เคยได้ยินแต่คนเฒ่าคนแก่พูดถึงการใช้ปุ๋ยคอกว่า “ขี้หมู กินหัว ขี้วัว กินใบ ขี้ไก่ กินผล” บางที่ก็เพี้ยน ๆ ไปว่า “ขี้หมูให้หัว ขี้วัวให้ใบ ขี้ไก่ให้ลูก” แต่ก็ความหมายเดียวกัน เราก็เลยจะมานำเสนอในแง่มุมของทางวิทยาศาสตร์ว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ จะเป็นยังไงไปติดตามอ่านกันเลยครับผม

ขี้หมูกินหัว หรือ ขี้หมูให้หัว คืออะไร ?
คือ ปุ๋ยที่ได้จากขี้หมูจะมีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงราก หัวของพืช เช่น มันสำปะหลัง มันแกว แครอท มันฝรั่ง ขิง ข่า กระชาย เป็นต้น เหตุผลที่ปุ๋ยจากขี้หมูช่วยบำรุงหัวของพืชก็เพราะว่ามีธาตุอาหารหลักอย่างโพแทสเซียม (K) อยู่มากนั่นเอง

ขี้วัวกินใบ หรือ ขี้วัวให้ใบ คืออะไร ?
คือ ปุ๋ยจากขี้วัวจะมีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงใบของพืช สำหรับผักต่าง ๆ ที่เราจะทานใบเช่น ผักกาด ผักคะน้า ผักหอม ผักชี ฯลฯ จึงเหมาะที่จะนำขี้วัวไปใส่เพื่อการบำรุงใบโดยเฉพาะ เหตุผลที่ปุ๋ยขี้วัวเหมาะสำหรับพืชกินใบก็เพราะว่ามีมีสัดส่วนของไนโตรเจน (N) ที่เยอะ ช่วยบำรุง เร่งเขียว เร่งใบ

ขี้ไก่กินผล หรือ ขี้ไก่ให้ผล คืออะไร ?
ปุ๋ยขี้ไก่มีธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงผลของพืช เช่น ผลไม้ต่าง ๆ มะม่วง มะกรูด มะนาว มะพร้าม ส้มโอ แตงโม ฯลฯ หากปลูกพืชกินลูก จึงเหมาะที่จะเอาปุ๋ยขี้ไก่ไปใส่ ส่วนเหตุผลที่ขี้ไก่เหมาะกับพืชกินผลเพราะมีสัดส่วนของฟอสฟอรัส (P) อยู่เยอะ บำรุงดอก เร่งดอก เร่งผล นั่นเอง

ตารางธาตุอาหาร ปุ๋ยคอก
ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยขี้หมู ขี้วัว และ ขี้ไก่ จะมีสัดส่วนไม่เท่ากัน ข้อมูลนี้อาจมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกร

ตารางปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยขี้หมู ปุ๋ยขี้วัว ปุ๋ยขี้ไก่

ไนโตรเจน (N) ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
ไนโตรเจน สัญลักษณ์ (N) เป็นธาตุอาหารหลักของพืช ช่วยบำรุงใบ ลำต้น ยอดอ่อน ในช่วงแรก ๆ ของพืชทุกชนิดจะต้องการธาตุอาหารชนิดนี้ จากตารางข้อมูลปริมาณธาตุอาหารเราจะพบว่ามีในปุ๋ยคอกทุกชนิด ทั้งขี้หมู ขี้วัว และ ขี้ไก่

เมื่อพืชขาดไนโตรเจน จะมีอาการยังไง ?
เมื่อพืชขาดธาตุอาหารหลักอย่างไนโตรเจน (N) จะมีลักษณะแคระแกรน ใบเหลือง ร่วงหล่นเร็ว บางครั้งร่วงเยอะจนหมดต้นไปเลยก็มี ทำให้ส่งผลต่อการเจริญเติบโต ออกออกออกผลช้า ไม่สมบูรณ์ ถือว่าเป็นธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญมาก

ฟอสฟอรัส (P) ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
ฟอสฟอรัส สัญลักษณ์ (P) มีความสำคัญต่อพืช ช่วยบำรุงดอก ผล เมล็ด เหมาะสำหรับไม้ดอกไม้ผล ธาตุอาหารชนิดนี้จำเป็นมากต่อการดำรงของสิ่งมีชีวิต เป็นองค์ประกอบของสารพันธุกรรม RNA , DNA และเนื่องจากธาตุอาหารชนิดนี้มีอยู่ในธรรมชาติน้อยมาก จึงมีปริมาณที่จำกัด

เมื่อพืชขาดฟอสฟอรัส จะมีอาการอย่างไร ?
ต้นพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส จะมีลักษณะต้นแคระแกรน ขอบใบเกิดอาหารม่วงช้ำ ชะงักการเจริญเติบโต ไม่ออกดอกออกผล หรือดอกผลไม่สมบูรณ์

โพแทสเซียม (K) ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืช
ฟอสฟอรัส สัญลักษณ์ (K) มีความสำคัญต่อระบบราก หัว เช่น มันสำปะหลัง มันแกว มันเทศ ฯลฯ

เมื่อพืชขาดโพแทสเซียม จะมีอาการอย่างไร ?
สังเกตุได้ง่าย ๆ ว่าพืชจะแห้งเหี่ยวง่าย ใบล่างเหลือง เกิดเป็นรอยไหม้ตามขอบใบ หัวลีบ รากไม่แข็งแรง รากไม่เดิน มะพร้าวเนื้อไม่มัน อ้อยไม่หวานน้ำตาลไม่เยอะ
โพแทสเซียมพบมากในดินเหนียว หากพื้นที่ของเรามีดินเหนียวปนอยู่จะไม่ค่อยมีปัญหามากนัก

ปุ๋ยคอก ปุ๋ยมูลสัตว์ ควรหมักก่อน ไม่ควรใช้ทันที
ปุ๋ยคอกนั้นมีประโยชน์มาก นอกจากให้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืชแล้วยังมีอินทรีย์วัตถุซึ่งช่วยปรับโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย รากเดินดี หาอาหารเองได้เยอะ แต่ก็ต้องใช้ให้ถูกวิธี โดยจะต้องนำมาหมักหรือตากให้แห้งปล่อยให้ปุ๋ยถูกย่อยสลารโดยจุลินทรีย์เสียก่อน หากนำมาใส่ทันทีนอกจากพืชจะไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ไม่ได้แล้ว จะเกิดความร้อนเนื่องจากจุลินทรีย์ย่อยสลายปุ๋ยคอกสด บางครั้งความร้อนรวมไปถึงจุลินทรีย์ไปย่อย กินรากพืช ทำให้ต้นเหลือง ใบเหลือง ส่งผลเสียต่อพืชในระยะแรก ๆ อีกด้วย

ปุ๋ยขี้วัว ไม่ควรนำไปใส่สนามหญ้า
ปุ๋ยขี้วัวมีไนโตรเจนสูงเหมาะสำหรับพืชที่ต้องการบำรุงใบ บางท่านเกิดไอเดียว่าจะเอาไปใส่สนามหน้า ให้คำนึงถึงเรื่องวัชพืช เมล็ดหญ้าที่ติดมากับมูลวัว แทนที่หญ้าจะงามอาจจะได้ของแถมเป็นวัชพืชที่ไม่พึงประสงค์ติดตามด้วย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรนำมูลวัวมาใส่สนามหญ้า แต่ถ้าเป็นมูลวัวนม คือวัวขุน โคขุน ที่ไม่ได้กินหญ้าก็สามารถยกเว้นข้อห้ามนี้ได้ครับผม


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  วิธีปลูกแตงกวา การรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และการดูแล 25 วัน เก็บกินได้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง