แจกฟรี ลิงค์ดาวน์โหลด PDF คู่มือ การผลิตมะนาวนอกฤดู

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

แจกฟรี ลิงค์ดาวน์โหลด PDF คู่มือ การผลิตมะนาวนอกฤดู

มะนาว เป็นพืชตระกูลส้มที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง มีความอ่อนไหวต่อราคาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้งจะขาดแคลน ราคาค่อนข้างแพง ผลใช้ประกอบอาหารหลายอย่าง และมักพบปัญหาผลผลิตล้นตลาดในช่วงฤดูฝน

ดังนั้น เพื่อให้มีปริมาณผลผลิตในฤดูกาลมีความเหมาะสมและราคาในฤดูไม่ให้ตกต่ำ จึงส่งเสริมการผลิตมะนาวนอกฤดูกันมากขึ้นมีหลายวิธี เช่น งดการให้น้ำ และให้สารพาโควบิวทราโซล เป็นต้น

วิธีการและขั้นตอนการผลิตมะนาวนอกฤดู
สำหรับเทคนิคการผลิตมะนาวนอกฤดูแบ่งออกเป็น 2 วิธี และเพื่อให้กระบวนการและวิธีการดำเนินการผลิตมะนาวนอกฤดูให้ประสบความสำเร็จควรทำในแต่ละวิธี ดังนี้

การผลิตมะนาวนอกฤดู ด้วยวิธีการงดการให้น้ำ
1. ช่วงเตรียมความพร้อมของต้น
(ช่วงเดือนพฤศภาคม) ปลิดดอก และผลอ่อนที่อยู่บนต้นออกให้ใหม่

1.1 การใส่ปุ๋ย : ปุ๋ยอินทรีย์ 5-10 กิโลกรัม/ต้น, ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 1-1.5 กิโลกรัม/ต้น เพื่อเร่งให้มะนาวแตกใบอ่อน

1.2. การให้น้ำ : ให้น้ำสม่ำเสมอ

1.3 การตัดแต่งกิ่ง : เลือกตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค และแมลง, กิ่งฉีกหัก, กิ่งซ้อนทับ, กิ่งแซมในทรงพุ่มขนาดเล็ก หลังตัดแต่งกิ่งแล้ว ควรกระตุ้นให้มะนาวแตกใบอ่อนอย่างรวดเร็วเพื่อสร้างใบใหม่ที่สมบูรณ์ ดังนี้
1.3.1 พ่นสารจิบเบอเรลลิค แอซิด (GA 3) อัตรา 25 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร เพื่อกระตุ้นให้ยอด และใบอ่อนเจริญ

1.3.2 พ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% อัตรา 5 กิโลกรัม ผสมสาหร่ายสกัด 200 ซีซี ในน้ำ 200 ลิตร เพื่อกระตุ้นการแตกตาดอก

2. ช่วงกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น
(ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม)

2.1 พ่นสารจิบเบอเรลริค แอซิด (GA 3) อัตรา 25 มิลลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร เพื่อเร่งการแตกกิ่ง และใบ

2.2 พ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 2.5% 5 กิโลกรัม ผสมสาหร่ายสกัดอัตรา 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร เพื่อแตกยอดใหม่

3. ช่วงเตรียมความพร้อมในการออกดอกติดผล
3.1 งดการให้น้ำ : (เดือนสิงหาคม-กันยายน) หลังจากมะนาวผ่านการแตกใบอ่อนแล้วเป็นช่วงที่ต้องให้ปุ๋ย เพื่อสาร้างตาดอกใช้สูตร 8-24-20, 12-24-12 หรือ 9-24-24 หลังใส่ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนใบแก่เต็มที่ จนเนื้อใบแข็งกรอบ สีเขียวเข้มจึงงดการให้น้ำ

3.2 การให้น้ำใหม่ : (เดือนตุลาคม) หลังจากนั้นเริ่มให้น้ำใหม่อย่างเต็มที่
– มะนาวเริ่มออกดอก (เดือนพฤศจิกายน) เพื่อให้การออกดอกดีขึ้น ดอกสมบูรณ์แข็งแรง พ่นอาหารเสริม
– มะนาวติดผลขนาดเล็ก และมีผลโต (เดือนธันวาคม) ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

**********

วิธีการใช้สารพาโคลบิวทราโซน
1. ช่วงเตรียมความพร้อมของต้น
(ช่วงเดือนพฤษภาคม) ปลิดดอก และผลอ่อนที่อยู่บนต้นออกให้หมด

1.1 การใส่ปุ๋ย : ใส่ปุ่ยอินทรีย์ 5-10 กิโลกรัม/ต้น, ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-20 หรือ 15-15-15 หรือสูตร 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 1-1.5 กิโลกรัม/ต้น

1.2 ตัดแต่งกิ่ง : เลือกตัดกิ่งที่แห้ง เป็นโรค และแมลง กิ่งฉีกหัก กิ่งซ้อนทับ กิ่งแซมในทรงพุ่มขนาดเล็ก ออก

1.3 การให้น้ำ : ให้น้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสม

2. ช่วงกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น
(ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม)

2.1 พ่นสารจิบเบอเรลริค แอซิด (GA 3) ความเข้มข้น 25 มิลิกรัม/น้ำ 1 ลิตร เพื่อเร่งการแตกกิ่งและใบ

2.2 พ่นสารโพแทสเซียมไนเตรท 25% 5 กิโลกรัมผสมสาหร่ายสกัดอัตรา 200 ซีซี/น้ำ 200 ลิตร เพื่อแตกยอดใหม่

2.3 การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอในปริมาณที่เหมาะสม

3. การบังคับการออกดอก
(เดือนสิงหาคม-กันยายน)

3.1 ช่วงใบเพสลาด : ราดสารพาโคลบิวทราโซล 10% อัตรา 2.5-5 กรัม ผสมน้ำราดโคนต้นจากนั้นให้น้ำสม่ำเสมอเพื่อรักษาความชื้นของดิน เพื่อให้รากต้นมะนาวดูดสารพาโคลบิวทราโซลไปยับยั้งไม่ให้มีการแตกใบอ่อน

3.2 ให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง : สูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 ทางดินหรือใบปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน 6-8 ครั้ง จะช่วยควบคุมไม่ให้แตกใบอ่อน

3.3 หลังจากให้ปุ๋ย : หลังจากให้ปุ๋ยแล้วประมาณ 30 วัน งดการให้น้ำมะนาวเข้าสู่ระยะพักตัว

4. การกระตุ้นออกดอก
(เดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน)

4.1 หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล : หลังจากราดสาร 40-45 วัน ต้นมะนาวจะแสดงอาการพร้อมที่จะออกดอก โดยสังเกตใบแข็ง หนากรอบ สีเขียวเข้มใบจะกางออก

อ่าน :  วิธีเพาะเมล็ดผักสวนครัว 10 ชนิด ปลูกง่าย ใครปลูกก็ขึ้น

4.2 กระตุ้นให้ต้นมะนาวแตกตาดอก : พ่นโพแทสเซียมในโตรทความเข้มข้น 2.5% (500 กรัม/น้ำ 20 ลิตร) หลังพ่นสาร 7-10 วัน มะนาวจะแตกตาดอก ถ้าหากยังไม่แตกตาดอกให้พ่นสารโพแทสเซียมไนเตรทซ้ำอีกรอบ

ระยะผลอ่อน จนถึง เก็บเกี่ยว
(เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม)

1. หลังจากมะนาวเริ่มติดผลอ่อนขนาดเมล็ดถั่วลิสง : ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 กิโลกรัมต่อต้น ในช่วงเดือนพฤศจิกายน และ มกราคม

2. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ : เพื่อให้ผลมะนาวมีน้ำมากหากขาดน้ำอาจทำให้ผลร่วงเนื้อแห้งแข็งกระด้างไม่มีน้ำ

**********

การป้องกันกำจัดศัตรูมะนาว
หลังตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ย มะนาวจะแตกใบอ่อนภายใน 7-10 วัน ระยะนี้จะมีโรคและแมลงเข้าทำลายในช่วงใบอ่อนดังนี้

แมลงศัตรูมะนาว
– เพลี้ยไฟ : จะดูดกินน้ำเลี้ยงยอดอ่อน ใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนหงิกงอ เหลือง ขอบใบแห้งและหลุดร่วงได้ หากตรวจพบให้ฉีดพ่นสารสะเดา หรือน้ำส้มควันไม้ กรณีใช้สารเคมี ได้แก่ อิมิดาโคลพริด (คอนฟิดอร์ 10% SL) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน (พอสซ์ 20% EC) อัตรา 40 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรืออะเซททามิทริด (โมแลน 20% SP) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

– หนอนกัดกินใบ หนอนแก้ว : เป็นตัวหนอนของผีเสื้อกลางวันโดยตัวหนอนจะออกจากใข่แช้วกัดกินใบอ่อน และลอกคราบเป็นหนอนแก้วขนาดใหญ่ และเป็นดักแด้ตัวแก่จะเป็นผีเสื้อ กรณีพบตัวอ่อนหนอนแก้วให้จับทำลายหรือหากระบาดมากฉีดพ่นด้วยสารสะเอา น้ำส้มควันไม้ หรือฉีดพ่นด้วยคาร์บาริล 85% WP 70 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือเดลทาเมทริน 3% EC 5 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

– หนอนชอนใบ : เป็นตัวอ่อนของผีเสื้อขนาดเล็กหนอนตัวอ่อนจะชอนไชเข้าไปกัดกินเนื้อใบในช่วงระยะใบอ่อนถึงเพสลาด ทำให้เห็นเส้นทางบนแผ่นใบมีรูปร่างบิดเบี้ยวและถ้าเป็นมากๆ ทำให้ใบแคระและบิดโค้งได้กรณีระบาดรุนแรง ควรฉีดพ่นด้วยสารเคมีชนิดดูดซึม ได้แก่ อิมิดาโคลพริด (คอนฟิดอร์ 10% SL) อัตรา 80 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ (แอ็ดไมซ์ 050 5% EC) อัตรา 10 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร หรือ (โปรวาโด 70% WG) อัตรา 0.5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

โรคศัตรูมะนาว
– โรคแคงเกอร์ : เกิดจากเชื้อแบททีเรีย โดยเชื้อจะแพร่กระจายไปกับน้ำหรือน้ำฝนแล้วเข้าทางบาดแผลรอยขีดข่วนบนใบหรือผล ระยะแรกจะมีสีเหลืองช้ำ แล้วแผลขยายใหญ่แล้วเป็นสะเก็ดฟูนูนคล้ายฟองน้ำแผลจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลการระบาดพบบนกิ่ง ใบ และผล การป้องกันกำจัด โดยคัดกิ่งพันธุ์ที่ปราศจากโรกแคงเกอร์มาปลูก ตัดแต่งกิ่ง ใบ หรือผลที่เป็นโรค เผาทำลาย ป้องกันโดยพ่น คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 53.8% WG อัตรา 20-42 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

**********

การเก็บเกี่ยว
(เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน)

เมื่อมะนาวมีอายุประมาณ 100-120 วัน ผลเริ่มแก่เก็บเกี่ยวได้สังเกตก้านขั้วจะมีสีเหลือง ผิวใสเปลือกบางเมื่อบีบดูจะรู้สึกนิ่มมือให้เก็บเกี่ยวไปจำหน่าย ไม่ควรปล่อยให้มะนาวสุกแก่เกินไปเพราะมะนาวเปลือกบางบอบช้ำง่าย

ลิงค์ดาวน์โหลด PDF > คู่มือ การผลิตมะนาวนอกฤดู

ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง