เตือนภัย โรค-ศัตรูพืช ช่วงวันที่ 14-12-65 ถึง 27-12-65 โดยกรมวิชาการเกษตร
ระวัง ด้วงแรดมะพร้าว ในมะพร้าว
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกมะพร้าว ในระยะ ยังไม่ให้ผลผลิต ให้ผลผลิตแล้ว รับมือด้วงแรดมะพร้าว ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช
โดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้ว ๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด ถ้าโดนทำลายมาก ๆ จะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อนทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่พบตามพื้นดินในบริเวณที่มีการกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะกัดกินและทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่ แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดู หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้น ๆ นำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลาย ล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงแรดจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว เผาทำลายท่อนมะพร้าวเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว ตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องใช้แล้วราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่ได้
2. การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium sp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาวัสดุ เช่น ใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต
3. การใช้สารเคมี
3.1 ต้นมะพร้าวอายุ 3 – 5 ปี ซึ่งยังไม่สูงมากนัก ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบ ๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6 – 8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว
3.2 ใช้สารฆ่าแมลงไดอะซินอน 60% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ 1- 1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15 – 20 วัน ควรใช้ 1 – 2 ครั้ง ในช่วงระบาด
* * * * *
ระวัง หนอนด้วงหนวดยาว ในทุเรียน
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกทุเรียน ในระยะ แทงช่อดอก-พัฒนาผล รับมือหนอนด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยเพศเมียวางไข่โดยฝังไว้ใต้เปลือกตามลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ หนอนกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านในไม่มีทิศทาง หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น การทำลายที่เกิดจากหนอนขนาดเล็กไม่สามารถสังเกตได้จากภายนอก แต่เมื่อหนอนโตขึ้นจะพบขุยไม้ละเอียดซึ่งเป็นมูลของหนอนตามแนวรอยทำลาย หรือตรงบริเวณที่หนอนทำลายกัดกินอยู่ภายในจะเห็นมีของเหลวสีน้ำตาลแดงไหลเยิ้มอยู่ ในระยะต่อมาจึงจะพบมูลหนอนออกมากองเป็นกระจุกอยู่ข้างนอกเปลือก เมื่อใช้มีดปลายแหลมแกะเปลือกไม้ จะพบหนอนอยู่ภายใน จะสังเกตพบรอยทำลายต่อเมื่อหนอนตัวโตและอาจเจาะเข้าเนื้อไม้ หรือกินควั่นรอบต้นทุเรียนแล้ว ซึ่งจะมีผลทำให้ท่อน้ำท่ออาหารถูกตัดทำลายเป็นเหตุให้ทุเรียนเริ่มทรุดโทรม ใบเหลือง ร่วง และยืนต้นตายได้
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. กำจัดแหล่งขยายพันธุ์ โดยตัดต้นทุเรียนที่ถูกทำลายรุนแรงจนไม่สามารถให้ผลผลิต นำไปทำลายนอกแปลง และควรดูแลรักษาต้นทุเรียน ให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรงอยู่เสมอ
2. กำจัดตัวเต็มวัย โดยใช้ไฟส่องจับตามต้นทุเรียนในช่วงเวลา 20.00 น. ถึงช่วงเช้ามืด หรือใช้ตาข่ายดักปลาตาถี่พันรอบต้นหลาย ๆ ทบ เพื่อดักตัวด้วง
3. หมั่นตรวจสวนเป็นประจำ โดยสังเกตรอยแผล ซึ่งเป็นแผลเล็กและชื้น ที่ตัวเต็มวัยทำขึ้นเพื่อการวางไข่ ถ้าพบให้ทำลายไข่ทิ้ง หรือถ้าพบขุยและการทำลายที่เปลือกไม้ให้ใช้มีดแกะ และจับตัวหนอนทำลาย
4. แหล่งที่มีการระบาดรุนแรง ควรป้องกันการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาว โดยพ่นสารฆ่าแมลง ไทอะมีทอกแซม/แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 14.1%/10.6% ZC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โคลไทอะนิดิน 16% SG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อิมิดาโคลพริด 10% SL อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซีทามิพริด 20% SP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้โชกเฉพาะบริเวณลำต้น ตั้งแต่โคนจนถึงยอด และกิ่งขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ด้วงชอบวางไข่ พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์
* * * * *
ระวัง โรครากเน่า โคนเน่า (เชื้อรา Phytophthora palmivora) ในทุเรียน
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกทุเรียน ในระยะ แทงช่อดอก-พัฒนาผล รับมือโรครากเน่า โคนเน่า (เชื้อรา Phytophthora palmivora)
อาการที่ราก : เริ่มแรกจะเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา เหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูราก จะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย
อาการที่กิ่งและที่ลำต้นหรือโคนต้น : ระยะแรกจะเห็นทุเรียนแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกของกิ่ง หรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อย ๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ทุเรียนใบรวงจนหมดต้น และยืนต้นแห้งตาย
อาการที่ใบ : ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว เหลืองบริเวณแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีดำ ตายนึ่งคล้ายน้ำร้อนลวก เส้นใบมีสีน้ำตาลดำ เกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็วแล้วค่อย ๆ ร่วงไป พบมากช่วงฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง และเมื่อมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก
2. ปรับปรุงดิน โดยใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปรับสภาพดินให้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 6.5 กรณีดินที่เป็นกรดจัด ให้ใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ อัตรา 100-200 กิโลกรัมต่อไร่
3. หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น
4. ต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมาก หรือยืนต้นแห้งตาย ควรขุดออกนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วราดดินในหลุมและบริเวณโดยรอบ ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทิ้งไว้ระยะหนึ่ง จึงปลูกทดแทน
5. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของกิ่ง ใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค รวมทั้งเก็บผลเน่าที่ร่วงหล่นไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม จำนวน 1-2 ครั้ง ทุก 7-10 วัน และควรหยุดพ่นสารก่อนเก็บเกี่ยวผล อย่างน้อย 15 วัน
6. ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
7. เมื่อพบต้นที่ใบเริ่มมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาหรือใบเหลืองหลุดร่วง ใช้สาร ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยาฉีดเข้าลำต้น อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น และ/หรือราดดินด้วยสาร ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
8. เมื่อพบอาการโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก แล้วทาแผลด้วยสาร ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WP อัตรา 70 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% WG อัตรา 90 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 40-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ แมนโคเซบ + วาลิฟีนาเลท 60% + 6% WG อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ โพรพาโมคาร์บไฮโดรคลอไรด์ + เมทาแลกซิล 10% + 15% WP อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง หรือ ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% SL ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ใช้อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น ฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค
9. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ตัดแต่งกิ่งเป็นโรค กิ่งแห้ง และตัดขั้วผลที่ค้างอยู่ นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
* * * * *
ระวัง โรคแอนแทรคโนส หรือโรคใบไหม้สีน้ำตาล หรือโรคกิ่งแห้ง หรือโรคผลแห้ง (เชื้อราColletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum coffeanum) ในกาแฟอะราบิกา
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกกาแฟอะราบิกา ในระยะ ติดผล-ผลสุกพร้อมเก็บเกี่ยว รับมือโรคแอนแทรคโนส หรือโรคใบไหม้สีน้ำตาล หรือโรคกิ่งแห้ง หรือโรคผลแห้ง (เชื้อราColletotrichum gloeosporioides, Colletotrichum coffeanum)
อาการที่ใบ : พบได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ ลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาล เมื่ออาการรุนแรงแผลจะขยายขนาดเป็นแผลใหญ่ ทำให้ใบแห้งไหม้ทั้งใบ
อาการที่กิ่ง : เกิดอาการไหม้บนกิ่งเขียว ทำให้ใบเหลืองและร่วง กิ่งเหี่ยวและแห้งทั้งกิ่ง
อาการที่ผล : พบได้ทั้งผลอ่อน และผลแก่ เริ่มแรกผลเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม เมื่ออาการรุนแรงขึ้นจุดจะขยายรวมกันเป็นแผลรูปร่างไม่แน่นอน และเนื้อเยื่อของแผลยุบตัว ผลที่เป็นโรคจะหยุดการเจริญ เปลี่ยนเป็นสีดำ แต่ผลยังคงติดอยู่บนกิ่งกาแฟ
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. รักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสม เพื่อรักษาระดับความชื้น เป็นการป้องกันการเกิดโรค
2. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เก็บผล ตัดแต่งกิ่ง ใบ และดอก ที่เป็นโรค นำไปทำลายนอกแปลงปลูก
3. เมื่อพบโรคเริ่มระบาดที่ใบ กิ่ง ดอก หรือผลอ่อน พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เบโนมิล 50% WP อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ควรหยุดพ่นสารเมื่อผลเริ่มแก่ จนกระทั่งเก็บเกี่ยว
4. ในระยะติดผลหมั่นสำรวจ และป้องกันกำจัดมอดเจาะผลกาแฟอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากมอดเจาะผลจะทำให้ผลเกิดบาดแผล เป็นช่องทางให้เชื้อราเข้าทำลายผลได้มากขึ้น
5. หลังเก็บเกี่ยวผลกาแฟควรตัดแต่งกิ่งและให้ปุ๋ยบำรุงต้น เพื่อให้ต้นกาแฟมีความแข็งแรง
* * * * *
ระวัง โรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Plasmopara viticola) Plasmopara viticola ในองุ่น
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกองุ่น ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคราน้ำค้าง (เชื้อรา Plasmopara viticola)
อาการที่ใบ : เนื้อเยื่อบริเวณด้านบนใบเกิดแผลสีเหลืองอ่อน ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง จะพบเชื้อราสาเหตุโรคสีขาวขึ้นฟู บริเวณใต้ใบด้านตรงข้ามแผล ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หากอาการโรครุนแรง ใบจะเหลือง แห้ง และหลุดร่วง
อาการที่ยอด เถาอ่อน และมือเกาะ : พบเชื้อราสีขาวขึ้นฟูเป็นกลุ่มปกคลุมส่วนของพืช ยอดหดสั้น เถาและมือเกาะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และแห้งอาการที่ช่อดอก และผลอ่อน พบเชื้อราสีขาวขึ้นฟูปกคลุมช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ดอกร่วง ช่อดอกเน่าและผลอ่อนร่วง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค นำออกไปทำลายนอกแปลง แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ไดเมโทมอร์ฟ 50% WP อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ + เมทาแลกซิล–เอ็ม 64% + 4% WG อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรวาลิคาร์บ + โพรพิเนบ 5.5% + 61.3% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5–7 วัน
2. ไม่ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนสูง เพราะจะทำให้พืชอ่อนแอต่อการเกิดโรค
* * * * *
ระวัง โรคราสนิมขาว (เชื้อรา Puccinia horiana) ในเบญจมาศ
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกเบญจมาศ ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคราสนิมขาว (เชื้อรา Puccinia horiana)
อาการเริ่มแรก : พบจุดแผลสีเหลืองขนาดเล็กที่ด้านบนใบ ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ขึ้น บริเวณด้านใต้ใบที่ตำแหน่งเดียวกันพบเชื้อราสาเหตุโรคสีขาวนวล ซึ่งต่อมาจะขยายใหญ่ขึ้นเป็นจุดนูนกลมสีขาวอมชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว พบเกิดกระจายอยู่ทั่วใบ ทำให้เนื้อใบตรงข้ามกลุ่มเชื้อกลายเป็นสีเหลืองและไหม้ ใบมีลักษณะพอง บิดเบี้ยว ถ้าโรคระบาดรุนแรงจะทำให้ใบเหลือง ไหม้ แห้ง และร่วง หากโรคเกิดกับดอกตูม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจะแห้ง ไม่คลี่บาน
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ใช้กิ่งชำหรือต้นพันธุ์ที่ปราศจากโรค หรือก่อนปลูกแช่กิ่งชำหรือต้นพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น สารเฮกซะโคนาโซล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล 43% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดฟีโนโคนาโซล + โพรพิโคนาโซล 15%+15% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 10 นาที
2. ปลูกเบญจมาศให้มีระยะห่างพอควร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี
3. กำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และบริเวณใกล้เคียง
4. ตัดแต่งใบแก่ออก เพื่อให้ต้นโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก
5. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคตัดส่วนที่เป็นโรคนำไปทำลายนอกแปลงปลูก หากโรคยังคงระบาด พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ตามข้อ 1 โดยพ่นสารทุก 7 วัน
6. พื้นที่ที่มีการระบาดของโรครุนแรง ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน
* * * * *
ระวัง หนอนเจาะลำต้นข้าวโพด ในข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว)
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ ระยะออกดอก-ติดฝัก รับมือหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด
ในระยะออกดอก หนอนจะเจาะเข้าไปกินส่วนยอดที่ม้วนอยู่ โดยกัดกินและเจริญเติบโตภายในช่อดอก ทำให้ช่อดอกไม่สามารถคลี่บานได้ จึงมีเกสรตัวผู้ไม่เพียงพอต่อการผสมเกสร ฝักที่ได้จะไม่มีเมล็ด หรือมีเมล็ดไม่เต็มฝัก ทำให้ผลผลิตต่ำ การเข้าทำลายฝัก ตัวหนอนเข้าทำลายโดยการเจาะที่ก้านฝัก หรือโคนฝัก หากมีการระบาดรุนแรงมากจะเจาะกินภายในแกนกลางฝัก และเมล็ดด้วย
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
พ่นด้วยสารฆ่าแมลง เดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรฟลูมูรอน 25% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เทฟลูเบนซูรอน 5% EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% EC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
*** ข้าวโพดหวาน พ่นสารฆ่าแมลงเมื่อพบหนอนมากกว่า 50 ตัว จากข้าวโพด 100 ต้น หรือ รูเจาะ 50 รู จากข้าวโพด 100 ต้น
* * * * *
ระวัง หนอนเจาะฝักข้าวโพด ในข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว)
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ ระยะออกดอก-ติดฝัก รับมือหนอนเจาะฝักข้าวโพด
แม่ผีเสื้อวางไข่เป็นฟองเดี่ยว ๆ ตามเส้นไหมที่ปลายฝักข้าวโพด หรือที่ช่อดอกตัวผู้ หนอนกัดกินที่ช่อดอก และเมื่อเริ่มติดฝัก ตัวหนอนจะกัดกินเส้นไหมของฝัก และเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในบริเวณปลายฝัก ทำความเสียหายให้แก่คุณภาพฝักโดยตรง เนื่องจากปลายฝักเสียหาย และถ้าพบระบาดมากปลายฝักจะเน่า เนื่องจากความชื้นจากมูลของหนอนที่ถ่ายไว้ หนอนเจาะฝักข้าวโพดทำความเสียหายได้มากเมื่อเกิดการระบาดก่อนที่ขบวนการผสมเกสรจะเกิดขึ้น หากการระบาดรุนแรงจะเก็บผลผลิตไม่ได้ เนื่องจากหนอนกัดกินเส้นไหมจนแหว่งหมดไป ทำให้ข้าวโพดไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ฝักที่ได้จึงไม่ติดเมล็ด หรือเกิดเป็นข้าวโพดฟันหลอขึ้น
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. วิธีกล ข้าวโพดที่ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก ใช้วิธีการจับหนอนที่ปลายฝักทิ้ง หรือใช้มือบีบปลายฝักให้หนอนตายโดยไม่ต้องเก็บทิ้ง และควรเดินเก็บหนอนทุกวันในระยะติดฝัก
2. เนื่องจากผีเสื้อของหนอนเจาะฝักข้าวโพดจะวางไข่ที่ยอดเกสรตัวผู้ และที่ไหมข้าวโพดในระยะผสมเกสร จึงควรหมั่นตรวจปลายฝักข้าวโพดในระยะนี้ หากพบหนอนวัย 1-2 เฉลี่ย 10-20 ตัวต่อ 100 ต้น พ่นสารฆ่าแมลงฟลูเฟนนอกซูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะฝักที่หนอนลงทำลายไหม พ่นซ้ำตามความจำเป็น โดยพ่นที่ปลายฝักบริเวณไหมโผล่ หากพบการระบาดมากจึงพ่นที่เกสรตัวผู้ส่วนบนสุด
*** สารฆ่าแมลงควรใช้ในระยะที่หนอนยังเล็กจะได้ผลดี
* * * * *
ระวัง เพลี้ยอ่อนข้าวโพด ในข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว)
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกข้าวโพด (ข้าวโพดฝักสด,ข้าวโพดหวาน, ข้าวโพดเทียน, ข้าวโพดข้าวเหนียว) ในระยะ ระยะออกดอก-ติดฝัก รับมือเพลี้ยอ่อนข้าวโพด
ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของใบ และช่อดอกตัวผู้ ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยอ่อนเกาะกินอยู่มากจะทำให้ช่อดอกไม่บาน การติดเมล็ดน้อยและทำให้เมล็ดแก่เร็ว ทั้ง ๆ ที่เมล็ดยังไม่เต็มฝัก หากมีการระบาดมาก จึงพบกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของลำต้น กาบหุ้มฝัก โดยเพลี้ยอ่อนชนิดมีปีกบินมาจากแปลงใกล้เคียง ตั้งแต่ข้าวโพดอายุประมาณ 15 วัน หลังจากนั้นอีก 1-2 สัปดาห์ จะพบเพลี้ยอ่อนออกลูกเป็นตัวอ่อนรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบล่าง ๆ และเพลี้ยอ่อนค่อย ๆ แพร่ขยายจากใบล่างขึ้นมาบนใบเรื่อย ๆ และขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว จนพบปริมาณสูงสุดในระยะข้าวโพดกำลังผสมเกสร มักพบเกาะเป็นกลุ่ม ๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก และจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอก ทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ในแหล่งที่มีการระบาดเป็นประจําในฤดูแล้ง หากสํารวจพบเพลี้ยอ่อนข้าวโพดแพร่กระจายจากใบล่างขึ้นมาและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วทั้งแปลง ควรป้องกันกําจัดก่อนข้าวโพดแทงช่อดอกตัวผู้ หรือก่อนดอกบาน จะให้ผลในการควบคุมได้ดี
2. หากมีการระบาดเกิดขึ้นเฉพาะจุด พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดอะชินอน 60% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
*** การพ่นสารฆ่าแมลงในระยะออกดอกควรพ่นเฉพาะจุด เมื่อพบความหนาแน่นของเพลี้ยอ่อนมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอก
*** ควรหลีกเลี่ยงพ่นสารเมื่อตรวจพบด้วงเต่า และแมลงหางหนีบ ซึ่งเป็นตัวห้ำของเพลี้ยอ่อน หลังจากข้าวโพดติดฝักแล้ว
* * * * *
ระวัง โรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium sp.) ในพืชตระกูลแตง (เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ)
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกพืชตระกูลแตง (เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ) ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium sp.)
พบเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดเป็นหย่อม ๆ บนใบ มักพบที่ใบส่วนล่างของต้นก่อน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะเกิดกระจายทั่วทั้งใบ และลุกลามขึ้นไปยังใบส่วนบนของต้น ต่อมาใบค่อย ๆ ซีดเหลืองและแห้ง หากโรคระบาดรุนแรงจะลุกลามไปยังทุกส่วนของพืช ทำให้ต้นแห้งตายในที่สุด ถ้าพืชเป็นโรคในระยะติดผลอ่อน จะทำให้ผลแกร็น บิดเบี้ยว ผิวขรุขระ เป็นตุ่ม หรือแผลที่เปลือก
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี
2. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาด พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น ฟลูโอไพแรม + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 25% + 25% SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ทีบูโคนาโซล + ไตรฟลอกซีสโตรบิน 50% + 25% WG อัตรา 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เพนทิโอไพแรด 20% SC อัตรา 5 – 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โพรพิเนบ 70% WP อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เตตระโคนาโซล 4% EW อัตรา 10 – 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5 – 7 วัน
3. แปลงที่เป็นโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก
* * * * *
ระวัง โรคใบไหม้ (เชื้อรา Phytophthora infestans) ในมันฝรั่ง
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกมันฝรั่ง ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบไหม้ (เชื้อรา Phytophthora infestans)
มักพบอาการของโรคที่ใบล่างก่อน โดยด้านบนใบพบจุดแผลฉ่ำน้ำสีเขียวหม่นคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายใหญ่ ตรงกลางแผลมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีลักษณะฉ่ำน้ำสีดำ เมื่อพลิกดูด้านใต้ใบบริเวณตรงกันที่ขอบแผลจะมองเห็นเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ สีขาวใสติดอยู่ แผลจะลุกลามออกไป ทำให้ใบไหม้แห้งเป็นสีน้ำตาลในที่สุด หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม คือ อากาศเย็นและมีความชื้นสูง หรือในสภาพที่มีหมอกลงจัด โรคจะลุกลามอย่างรวดเร็วไปยังต้นอื่น ๆ ทำให้มองเห็นใบไหม้แห้งกระจายเป็นหย่อม ๆ ในแปลง อาจพบอาการโรคที่ส่วนของลำต้นและกิ่งก้าน แผลมีสีน้ำตาลหรือสีดำ เมื่ออาการรุนแรงลำต้นและกิ่งก้านจะหักพับ และแห้งตายอย่างรวดเร็ว หากโรคเข้าทำลายที่หัว จะทำให้หัวเน่า
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. หลีกเลี่ยงการปลูกมันฝรั่งในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน
2. ไถพลิกดินตากแดด 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อลดปริมาณเชื้อโรคในดิน
3. ใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ
4. ปรับระยะปลูกไม่ให้แน่นเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค
5. ไม่ให้น้ำมากเกินไป ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำในตอนเย็น
6. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบต้นที่แสดงอาการโรค ควรถอนและนำไปทำลายนอกแปลงปลูก แล้วพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เช่น เมทาแลกซิล 25% WP อัตรา 30 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดเมโทมอร์ฟ 50% WG อัตรา 20 – 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซมอกซานิล + แมนโคเซบ 8% + 64% WP อัตรา 50 – 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซบ + เมทาแลกซิล-เอ็ม 64% + 4% WG อัตรา 30 – 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไอโพรวาลิคาร์บ + โพรพิเนบ 5.5% + 61.3% WP อัตรา 40 – 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5 – 7 วัน ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิด เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อราสาเหตุโรค
7. แปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืช รวมทั้งหัวมันฝรั่งที่ตกค้างในแปลง นำไปทำลายนอกแปลงปลูก เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
* * * * *
ระวัง แมลงหวี่ขาวยาสูบ ในมะเขือเปราะ
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกมะเขือเปราะ ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือแมลงหวี่ขาวยาสูบ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณใบ และเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างเหลืองในมะเขือเปราะ ทำให้ผลผลิตลดลง
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ก่อนการย้ายปลูก รองก้นหลุมปลูกด้วยสารฆ่าแมลง ไดโนทีฟูแรน 1% G อัตรา 2 กรัมต่อหลุม สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงหวี่ขาวได้ประมาณ 45 วัน (เมื่อใส่สารลงในหลุมแล้วให้โรยดินกลบสารบาง ๆ ก่อนทำการย้ายกล้าลงหลุม เพื่อป้องกันรากพืชสัมผัสสารโดยตรง ซึ่งอาจทำให้เกิดความเป็นพิษต่อพืชได้)
2. เมื่อพบการระบาด พ่นด้วยสารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ น้ำมันปิโตรเลียม เช่น ไวต์ออยล์ 67% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ควรพ่นสารทุก 5 วัน 2-3 ครั้งติดต่อกัน เมื่อพบการระบาด
* * * * *
ระวัง โรคใบด่างเหลืองมะเขือ (เชื้อไวรัส Begonovirus) ในมะเขือเปราะ
สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน เตือนผู้ปลูกมะเขือเปราะ ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต รับมือโรคใบด่างเหลืองมะเขือ (เชื้อไวรัส Begonovirus)
ใบยอดและใบอ่อนหดย่นหงิกมีสีเหลือง ขอบใบม้วนงอ ใบมีอาการด่างสีเขียวเข้มสลับเขียวอ่อนหรือเหลือง ใบที่แตกใหม่มีขนาดเล็ก ต้นแคระแกร็น ทำให้มะเขือไม่ติดผลหรือติดผลน้อยมาก ผลจะบิดเบี้ยว และมีขนาดเล็กผิดปกติ
แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. ใช้พันธุ์ต้านทานโรค
2. คัดเลือกกล้ามะเขือที่แข็งแรงและไม่เป็นโรคมาปลูก
3. หมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูก เพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อไวรัสและแมลงพาหะ เช่น สาบแร้งสาบกา กะเม็ง หญ้ายาง กระทกรก ลำโพง โทงเทง และขี้กาขาว
4. ตรวจแปลงสม่ำเสมอ ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ถอนแล้วนำไปทำลายนอกแปลงปลูก
5. เชื้อไวรัสสาเหตุโรคพืช ยังไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง แต่ป้องกันการระบาดของโรคได้โดยพ่นสารฆ่าแมลงหวี่ขาวยาสูบซึ่งเป็นพาหะนำโรค ซึ่งได้แก่ สารบูโพรเฟซิน 40% SC อัตรา 25 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟลอนิคามิด 50% WG อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สไปโรเตตระแมท 15% OD อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไซแอนทรานิลิโพรล 10% OD อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไบเฟนทริน 2.5% EC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% WP อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ น้ำมันปิโตรเลียม เช่น ไวต์ออยล์ 67% EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
6. ไม่ปลูกพืชที่เป็นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค ได้แก่ พืชตระกูลแตง ตระกูลถั่ว ตระกูลมะเขือ พริก ขึ้นฉ่าย ยาสูบ งา กะเพราขาว ตำลึง หงอนไก่ บานไม่รู้โรย และทานตะวัน เป็นต้น ใกล้แปลงปลูกมะเขือ
7. แปลงที่พบการระบาดของโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บซากพืชไปทำลายนอกแปลงปลูก และไม่ปลูกมะเขือซ้ำ ควรปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัยของเชื้อสาเหตุโรค
* * * * *
โดย : คณะทำงานพยากรณ์และเตือนภัยศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร