การควบคุมโรคใบจุด ของ “กล้วยหอมทอง” ด้วยงบ 5 บ.

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

การควบคุมโรคใบจุด ของ “กล้วยหอมทอง” ด้วยงบ 5 บ.

ลักษณะอาการโรคใบจุด
1. เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ถึงดำ (ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 มิลลิเมตร)

2. ขยายขนาดตามความยาวของเส้นใบ มีรูปร่างไข่หรือรี สร้างวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบแผล และบริเวณกลางแผล มีอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีเทา เมื่ออายุแผลมากขึ้น

3. เมื่อแต่ละแผลขยายขนาดเชื่อมต่อกันจะปรากฎลักษณะอาการไหม้เป็นสีน้ำตาลเข้าผืนใหญ่ ส่วนมากมักพบอาการไหม้จากขอบใบ และมักเริ่มจากปลายใบ

การระบาดของโรคใบจุด ใน กล้วยหอมทอง
– พบการระบาทในช่วงฤดูฝน (มีความชื้นสัมพัทธ์ในแปลงมากกว่า 80%)
– การตัดแต่งใบกล้วยแล้วสุมไว้ข้างๆ ต้น ทำให้เชื้อราเกิดการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง
– สภาพอากาศมีความชื้นสูง ทำให้สร้างส่วนขยายพันธุ์ (สปอร์) ได้จำนวนมาก
– สปอร์ของเชื้อราปริวไปทำลายบริเวณใบล่างของต้นกล้วยข้างเคียง
– ใช้หน่อกล้วยแปลงที่เป็นดรคมาปลูกในแปลงอื่นๆ ทำให้เชื้อราแพร่กระจายเป็นปริมาณกว่าง

*** เชื้อรา คือสาเหตุโรคใบจุด ได้แก่ อัลเทอนาเรีย สปีชีส์ (Alternaria sp.), เคอวูลาเรีย สปีชีส์ (Curvularia sp.), ไนโกรสปอรา สปีชีส์ (Nigrospora sp.)

วิธีแก้ไข
โดยใช้ “กรดซาลิไซลิก” กรดซาลิไซลิก คือ เป็นสารเคมีะรรมชาติที่พบได้ในพืชชั้นสูงทั่วไป ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของพืช

คุณสมบัติของกรดซาลิไซลิก ที่มีผลต่อการควบคุมโรคพืช
– ชักนำให้พืชเกิดกลไกในการป้องกันตัวเอง
– กระตุ้นให้พืชเกิดการสังเคราะห์เอนไซม์ที่ช่วยย่อยผนังของเชื้อราสาเหตุโรค
– กระตุ้นให้พืชสร้างสารพิษขึ้นมา เพื่อยับยั้งการรุกรานของเชื้อจุลินทรีย์สาเหตุโรค ซึ่งเป็นการควบคุมโรคพืชทางอ้อม

วิธีการใช้กรดซาลิไซลิก
– สำรวจแปลงกล้วย ตัดใบที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายให้ไกลแหล่งปลูก


– กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มของต้นกล้วย เพื่อลดความชื้นในแปลงเนื่องจากเชื้อราสาเหตุโรคจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื่นสูง


– เตรียมสารละลายกรดซาลิไซลิก ในอัตรา 4 กรัม ต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร (0.2 กรัม ต่อ ลิตร) คนให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน


– ฉีดพ่นสารละลายกรดซาลิไซลิก ที่ต้นกล้าช่วงอายุ 5-8 เดือน พ่นทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ต้นกล้ามีความต้านทานโรค (ประมาณ 16-20 ครั้ง ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต)

*** ข้อควรระวัง ควรใช้ในอัตราแนะนำอย่างเข้มงวด เนื่องจากสารละลายกรดซาลิไซลิกที่มีความเข้มข้นสูงเกินไปจะทำให้เนื้อเยื้อพืชเกิดการไหม้ ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลกล้วย

ค่าใช้จ่าย
– กรดซาลิไซลิก 1 ขวด ขนาด 500 กรัม ราคา 600 บาท
– ใช้กรดซาลิไซลิก 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (0.2 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) คิดเป็นเงิน 4.8 บาท ต่อน้ำ 20 ลิตร (0.24 บาท ต่อน้ำ 1 ลิตร)

ผลงานวิจัย : โครงการใช้เชื้อรา Trichoderma sp. และ Salicylic acid เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมโรคใบจุดของกล้วยหอมทอง ในระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก

ที่มา : คอนช., วช., สวก., กรมวิชาการเกษตร
เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  "ต้นเตี้ย ผลดก สุกแล้วหอมหวาน" มะละกอพันธุ์ฟลอริด้า โทเลอแรนต์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง