ช่วงอากาศชื้น ฝนตก ระวัง เพลี้ยแป้ง ในมะละกอ พร้อมแนวทางป้องกัน แก้ไข

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ช่วงอากาศชื้น ฝนตก ระวัง เพลี้ยแป้ง ในมะละกอ พร้อมแนวทางป้องกัน แก้ไข

สภาพอากาศในช่วงนี้อากาศชื้น ฝนตก เตือนผู้ปลูกมะละกอ ในระยะ ให้ผลผลิต รับมือเพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยง บริเวณยอดอ่อน ใบ ดอก และผล

โดยมีมดช่วยพาไปยังส่วนต่างๆ ของต้นพืช การทำลายที่ดอก และผลอ่อน จะทำให้ดอกและผลหลุดร่วง หรือผลบิดเบี้ยว การทำลายที่ยอดอ่อน ใบอ่อน จะทำให้ใบ และยอดหงิกงอ นอกจากนี้มูลหวานที่เพลี้ยแป้งขับออกมาจะทำให้เกิดราดำที่ผิวผล ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ

แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. กำจัดพืช และวัชพืชที่เป็นแหล่งอาศัยของเพลี้ยแป้ง

2. กำจัดมด และแหล่งอาศัยของมด ที่เป็นพาหะของเพลี้ยแป้ง

3. ก่อนการย้ายกล้ามะละกอลงหลุมปลูก ตรวจดูว่าไม่มีเพลี้ยแป้งติดมากับต้นกล้า หากพบควรนำไปทำลายนอกแปลง

4. หลังปลูกหมั่นสำรวจแปลง โดยเฉพาะแนวขอบแปลงทิศเหนือลม หรือขอบแปลงที่ติดกับแปลงอื่น ถ้าพบการระบาด ตัดส่วนที่พบไปทำลาย และพ่นสารที่แนะนำบริเวณจุดที่พบเพลี้ยแป้งและรัศมีโดยรอบ เพื่อป้องกันการกระจายตัวของเพลี้ยแป้ง

5. กรณีที่จำเป็นต้องใช้สารเคมี เลือกใช้สารที่มีประสิทธิภาพชนิดใดชนิดหนึ่ง ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทอะมีทอกแซม 25% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ โคลไทอะนิดิน 16% เอสจี อัตรา 15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  แตนเบียนมอด Anisopteromalus calandrae (Howard) แมลงศัตรูธรรมชาติ ของแมลงศัตรูพืช

เรื่องที่เกี่ยวข้อง