8 หลักการ ผลิตปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

8 หลักการ ผลิตปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

ปาล์มน้ำมัน มีแนวทางการจัดการผลิตอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้แก่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบ รวมถึงมีแนวทางในการพัฒนาการผลิตและการตรวจประเมินสร้างการยอมรับทางการค้าระหว่างประเทศ ตามยุทธศาสตร์ การปฏิรูปปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มทั้งระบบ พ.ศ. 2561 – 2580

มี 8 หลักการที่สำคัญดังนี้

1. ความมุ่งมั่นให้เกิดความโปร่งใส
• ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเเละผู้ประกอบการโรงสกัดจัดเตรียมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งเเวดล้อม เเละกฎหมายให้กับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อใ้ห้เกิดการที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
• มีเอกสารเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่พร้อมเปิดเผยต่อสาธารณะ
• มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจเเละธุรกรรมอย่างมีจริยธรรม โดยมีนโยบายด้านจรรยาบรรณเเละความซื่อสัตย์ในการดำเนินงานรวมทั้งธุรกรรมต่างๆ

2. การปฏิบัติตามกฏหมายเเละกฏระเบียบ
• ปฏิบัติตามกฏหมายเเละกฏระเบียบต่างๆทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ รวมถึงกฏหมายเเละกฏระเบียบระหว่างประเทศ
• มีหลักฐานเเสดงสิทธิในการใช้ที่ดินเเละไม่ถูกคัดค้านสิทธิโดยชุมชนท้องถิ่น
• การใช้ที่ดินเพื่อปลูกปาล์มน้ำมันต้องไม่ลิดรอนสิทธิตามกฎหมาย หรือสิทธิตามจารีต

3. ความมุ่งมั่นในการทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจเเละการเงินในระยะยาว
• มีเเผนการบริหารจัดการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจเเละการเงินในระยะยาว

4. การใช้วิธีปฏิบัติที่ดีของผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเเละผู้ประกอบการโรงสกัด
• จัดทำเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เหมาะสมนำไปปฏิบัติให้สอดคล้อง เเละตรวจติดตาม
• มีการปฏิบัติเพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน
• มีการปฏิบัติเพื่อลดเเละควบคุมการชะล้างพังทลายของดินเเละการเสื่อมโทรมของดิน
• การจัดการศัตรูพืชเเบบผสมผสาน (IPM) เเละใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือสิ่งเเวดล้อม

5. ความรับผิดชอบด้านสิ่งเเวดล้อม เเละการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเเละความหลากหลายทางชีวภาพ
• ระบุผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการบริหารจัดการสวนปาล์มเเละโรงสกัด รวมถุงมีเเผนการลดผลกระทบเชิงลบเเละเเผนส่งเสริมที่เอื้อประโยชน์ตอสิ่งเเวดล้อม
• ระบุสถานภาพของพันธุ์พืชหรือพันธุ์สัตว์หายาก หรือถูกคุกคามหรือใกล้สูญพันธ์ุเเละสิ่งที่มีคุณค่าสูงในการอนุรักษ์ หากมีอยู่ในพื้นที่สวนปาล์ม

6. ความรับผิดชอบที่มีต่อพนักงาน ลูกจ้าง บุคคล ชุมชน ที่ได้รับผลกระทบจากผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเละผู้ประกอบการโรงสกัด
• ระบุผลกระทบด้านสังคมโดยกระบวนการมีส่วนร่วมจากการบริหารจัดการสวนปาล์มเเละโรงสกัดเเละการปลูกทดเเทน
• มีกระบวนการสื่อสารเเละการปรึกษาหารืออย่างเปิดกว้างเเละโปร่งใสระหว่างผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ผู้ประกอบการโรงสกัด ชุมชนท้องถิ่น เเละกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ หรือกลุ่มอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• เคารพสิทธิของพนักงานเเละลูกจ้าง โดยไม่มีการเลือกปฎิบัติบนพื้นฐานของความเเตกต่าง ด้านเชื้อชาติ วรรณะ ถิ่นกำเนิน ศาสนา เเละการเเสดงออกทางเพศ
• มีการดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรมเเละโปร่งใสกับเกษตรกรรายย่อยเเละธุรกิจอื่นๆในท้องถิ่น

7. การพัฒนาการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่อย่างมีความรับผิดชอบ
• มีการประเมินผลกระทบด้านสังคมเเละสิ่งเเวดล้อมอย่างครบถ้วน ก่อนการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ใหม่ หรือก่อนการขยายพื้นที่ปลูก
• นำข้อมูลสำรวจดินเเละข้อมูลสภาพภูมิประเทศมาใช้ในการวางเเผนที่ตั้งพื้นที่ปลูกใหม่เเละนำมาประกอบไว้ในเเผนเเละการปฏิบัติงาน
• ไม่ให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันใหม่ในพื้นที่ที่เข้าข่ายสิ่งที่มีคุณค่าสูงในการอนุรักษ์

8. ความมุ่งมั่นในปรับปรุงกิจกรรมหลักอย่างต่อเนื่อง
• ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันเเละผู้ประกอบการโรงสกัด ติดตามเเละทบทวนกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ
• จัดทำเเผนปฏิบัติงานเเละนำไปปฏิบัติเพื่อเเสดงให้เห็นถึงการปรับปรุงการดำเนินงานหลักอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรเเละอาหารเเห่งชาติ (มกอช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  วิธีป้องกันและกำจัด โรคพุ่มแจ้มันสำปะหลัง (Witche’s broom)

เรื่องที่เกี่ยวข้อง