Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

ผักไชยา หรือ ต้นผงชูรส ผักสมุนไพรใกล้ตัว ที่ถูกมองข้าม

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ผักไชยา หรือ ต้นผงชูรส ผักสมุนไพรใกล้ตัว ที่ถูกมองข้าม

ต้นผงชูรส หรือเรียกอีกอย่างว่า ผักไชยา ได้รับความนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารในต่างประเทศหลายๆที่ แต่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักในแถบบ้านเรา ซึ่งต้นผงชูรส มีประโยชน์และสรรพคุณหลายอย่างมาก สามารถนำไปป่นเป็นผง แล้วใช้แทนผงชูรสก็ยังได้ ซึ่งข้อดีคือ จะมีโซเดียมเดียมน้อยกว่าผงชูรส และเป็นส่วนประกอบจากธรรมชาติ ถ้าอยากรู้ว่าต้นผงชูรสนี้ สามารถทำอะไร และรักษาอาการอะไรได้บ้าง ตามไปดูกันเลย

ส่วนผสมการทำ
1. ใบชายา 5-6 ใบ
2. น้ำสะอาด 2 ถ้วย

วิธีทำชาจากใบชายา
1. เริ่มแรกให้ทำการต้มน้ำสะอาด ประมาณ 2 ถ้วย ในหม้อ ต้นจนเดือด
2. จากนั้นก็ใส่ใบชายาลงไป สัก 5-6 ใบ แล้วเคี่ยวไว้ประมาณ 10 นาที
3. เมื่อเคี่ยวจนส่วนผสมจากใบชายาออกมาแล้ว ก็ปิดเตา แล้วพักทิ้งไว้ให้อุ่น
4. เมื่อพักจนชาอุ่นแล้ว ก็สามารถตักใส่แก้วดื่มได้เลย

วิธีการดื่มชาจากใบชายา : เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ควรดื่มในปริมาณ 1 ถ้วย วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร

ประโยชน์และสรรพคุณจากใบชายา
1. ช่วยบำรุงสมองให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
2. ช่วยปรับสมดุลระบบเผาพลาญได้ เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังลดน้ำหนัก
3. มีสา รต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดคอลเลสเตอรอล
4. เป็นผักที่บำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น
5. ช่วยบรรเทาริดสีดวงทวาร
6. ช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูก และ รักษาโรคกระดูกพรุน และช่วยบรรเทาโรคไขข้ออักเสบ
7. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
8. ช่วยในการหมุนเวียนโลหิต และลดการอักเสบ ในเส้นโลหิตได้
9. รักษาโรคหอบหืด
10. ป้องกันโลหิตจาง โดยเพิ่มธาตุเหล็กให้กับโลหิต
11. ป้องการอาการไอ
12. ป้องกันอาการปวดหัว วิงเวียนศีรษะ

การปลูกต้นไชยา ด้วยวิธีการปักชำ
1. ให้เลือกกิ่งที่เป็นสีเขียวเข้ม แล้วตัดกิ่งออกมา ความยาวประมาณ 1 คืบ เพื่อนำไปปักชำ

2. จากนั้นก็นำกิ่งที่ตัดนั้น ปักลงใส่กระถางต้นไม้ขนาด 5-6 นิ้ว

3. จากนั้นก็ใส่ดินสำหรับปลูก แล้วนำกระถางไปวางไว้ในที่ที่มีแสงรำไร

4. รอไม่นาน ต้นไชยาก็จะแตกกิ่งออกมา และเจริญเติบโต

5. เมื่อต้นไชยาเจริญได้ที่แล้วก็นำไปปลูกลงดิน

ต้นไชยาเป็นต้นไม้ที่สามารถขยายพันธุ์ได้เร็ว แล้วเจริญเติบโตได้เร็วมาก อีกทั้งยังดูแลง่าย ไม่ค่อยเป็นโรคหรือมีแมลงรบกวน จึงไม่ต้องการการดูแลมากเท่าไหร่ ต้นไชยาจะชอบอากาศที่โปร่ง และระบายน้ำได้ดี แต่ไม่ชอบพื้นที่ที่มีน้ำขังนาน ชอบแสงแดดรำไร

ขอขอบคุณข้อมูล : health.mthai , เทคโนโลยีชาวบ้าน


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version