คลิป – หว่านข้าวนาปี ช่วงเดือนไหนดี ? ที่นี่..มีคำตอบ

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

คลิป – หว่านข้าวนาปี ช่วงเดือนไหนดี ? ที่นี่..มีคำตอบ

หว่านข้าวนาปี ช่วงเดือนไหนดี ? ที่นี่..มีคำตอบ 🌾🌾

รายละเอียดจะเป็นอย่างไร ไปดูคลิปด้านบนกันได้เลย…

ข้าว

คงมีคนไทยน้อยคนนักที่ไม่เคยรับประทานข้าวเลย เพราะเป็นที่รู้กันดีว่า ข้าว หรือที่ภาษาอังกฤษแปลว่า rice หรือ grain เป็นอาหารหลักของคนไทยมาแต่โบราณ

พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงเล็งเห็นความสำคัญของอาหารไทย และการบริโภคอาหารไทย เช่น ข้าว ที่เป็นอาหารหลักของประเทศที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ดังจะเห็นได้จากพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า The Royal Ploughing Ceremony พิธีนี้น่าจะปฏิบัติกันมาเป็นพันปีแล้ว กล่าวคือพระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นผู้นำชุมชนจะเป็นผู้ทรงเริ่มไถนา หรือจรดคันไถลงบนผืนนาแปลงพิเศษเป็นปฐมฤกษ์สำหรับปีนั้น จึงเรียกว่า “แรกนา” ภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า ploughing ซึ่งคำว่า plough แปลว่าไถ ถ้าเป็นแบบอเมริกันจะสะกดว่า plow เป็นการรวมพระราชพิธี 2 พิธีเข้าด้วยกัน คือ พระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ หรือเรียกสั้นๆ ว่า พิธีแรกนา เป็นพิธีพราหมณ์ จะประกอบพระราชพิธีในวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง

นอกจากพระราชพิธีที่สื่อให้เห็นถึงความห่วงใยของพระมหากษัตริย์ที่มีต่อพสกนิกรแล้ว โครงการส่วนพระองค์ต่างๆ ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เช่น โครงการโรงสีข้าวตัวอย่าง และนาข้าวทดลอง ศัพท์ภาษาอังกฤษของคำว่า โรงสีข้าว คือ rice mill ซึ่งคำว่า mill สามารถใช้ได้หลายความหมายไม่ว่าจะแปลว่าโรงงานผลิตสินค้า เครื่องโม่ เครื่องบด หรือแปลว่าเครื่องสี หรือโรงสีได้ด้วยเช่นกัน ส่วนคำว่า นา นั้น ภาษาอังกฤษแปลได้หลายคำทั้ง farmland, farm, rice field, paddy field หรือ rice paddy ซึ่งคำว่า paddy นั้นแปลว่า นาข้าว และแปลว่าข้าวเปลือกได้ด้วย

เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของประเทศ จึงมีอยู่มากมายหลายชนิด แต่ถ้าจะจำแนกเป็นชนิดหลักๆ ก็สามารถจำแนกได้ตามสภาพพื้นที่เพาะปลูก และฤดูกาลปลูก ชนิดของข้าวตามสภาพพื้นที่เพาะปลูกนั้น จำแนกได้เป็นสามประเภท คือ

1. ข้าวไร่ Upland riceเป็นข้าวที่ปลูกได้ทั้งบนที่ราบและที่ลาดชัน นิยมปลูกกันมากในบริเวณที่ราบสูงโดยไม่ต้องใช้น้ำมากตามไหล่เขาทางภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ เนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศไม่มากนัก แค่ร้อยละ 10 ของพื้นที่ปลูกทั่วประเทศเท่านั้น ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า upland rice ก็เพราะปลูกในที่ราบสูงของพื้นที่นั้น

2. ข้าวนาสวน หรือนาดำ Lowland riceสามารถปลูกในที่ลุ่มทั่วไปในสภาพที่มีน้ำหล่อเลี้ยงต้นข้าวตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งก่อนเก็บเกี่ยว ข้าวนาสวนนิยมปลูกกันมากแทบทุกภาคของประเทศ เนื้อที่เพาะปลูกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 80 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั่วประเทศ และที่ใช้คำว่า lowland rice ก็เพราะปลูกในที่ลุ่ม ไม่ใช่ที่ราบสูงเหมือนข้าวไร่

3. ข้าวขึ้นน้ำ หรือข้าวนาเมือง Floating riceเป็นข้าวที่ปลูกในแหล่งที่ไม่สามารถรักษาระดับน้ำได้ จึงต้องใช้ข้าวพันธุ์พิเศษที่เรียกว่า ข้าวลอย หรือข้าวฟ่างลอย ส่วนมากปลูกแถบจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี ลพบุรี พิจิตร อ่างทอง ชัยนาทและสิงห์บุรี มีเนื้อที่เพาะปลูกไม่มาก ประมาณร้อยละ 10 ของเนื้อที่เพาะปลูกทั้งประเทศ คำว่า float แปลได้หลายอย่าง แต่ความหมายหลักคือ ลอย หรือล่องลอย เลยเป็นความหมายของการปลูกข้าวประเภทนี้


ส่วนชนิดที่แบ่งตามฤดูปลูก คือ

1. ข้าวนาปี หรือข้าวนาน้ำฝน คือ ข้าวที่ปลูกในฤดูการทำนาปกติ จึงใช้ภาษาอังกฤษตรงตัวว่า in-season rice เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมและเก็บเกี่ยวสิ้นสุดไม่เกินกุมภาพันธ์

2. ข้าวนาปรัง คือ ข้าวที่ปลูกนอกฤดูการทำนาปกติ ภาษาอังกฤษจึงใช้คำว่า off-season rice คือเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม นิยมปลูกในพื้นที่ที่มีการชลประทานดี เช่น ในภาคกลาง เป็นต้น

ถ้าทุกคนให้ความสำคัญกับข้าว โดยไม่ เห่อ อาหารฝรั่ง ดังเช่นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พวกเราเสมอมา อาหารหลักของชาติที่ให้ประโยชน์และคุณค่าเอนกอนันต์ชนิดนี้ก็จะยังคงความสำคัญ และคงเป็นสัญลักษณ์ของโภชนาการไทยสืบไป


………………………….
ฝากกดไลค์ กดแชร์ ติดตามช่องได้ที่
ที่มา Youtube Channel : แฮปปี้ การเกษตร แชนแนล
คลิป : https://www.youtube.com/watch?v=QajdWad6GVM


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  การปลูกถั่วเหลืองฝักสด และการดูแลรักษา โดยกรมวิชาการเกษตร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง