Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่ 20/20

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกวัยและทุกศาสนา เนื่องจาก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปลักปรัชญาฯ ที่เป็นจริง เป็นกรอบในการดำรงชีพที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ในระดับต่าง ๆ จากชนบทจนถึงในเมือง จากผู้มีรายได้น้อย จนถึงผู้มีรายได้สูง จากภาคเอกชนถึงภาครัฐ

ทั้งนี้ หากพิจารณาจากความหมายของเศรษฐกิจพอเพียงจะเห็นว่า ในการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันนั้น ผู้ประยุกต์ต้องเริ่มจากการพัฒนาด้านจิตใจ คือ ให้มีความเข้าใจถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง และเชื่อว่าเมื่อนำไปใช้แล้ว จะทำให้เกิดประโยชน์ และความสุขทั้งในปัจจุบันและอนาคต แล้วจึงจะมีความมั่นใจที่จะนำไปทดลองใช้ปฏิบัติ

การทดลองใช้ปฏิบัตินั้น เริ่มจากการดำรงชีวิตบนพื้นฐานของการรู้จักตนเอง การคำพึ่งพาตนเองและการอยุ่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน และที่สำคัญ คือ การใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ซึ่งสอดคล้องกับหลักคำสอนของทุกศาสนาที่ให้ดำเนินชีวิตบตนพื้นฐานตองศีลธรรม ไม่ทำการใด ๆ ที่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่ฟุ้งเฟ้อหรือทำอะไรที่เกินตน รู้จักแบ่งปั่นและช่วยเหลือผู้อื่นตามความเหมาะสมและกำลังสามารถของตน เชื่อในผลของการกระทำ หรือที่เรียกว่า กฎแห่งกรรมซึ่งอยู่บนพื้นฐานของเหตุและปัจจัย รวมทั้งการดำเนินชีวิตบนทางสายกลาง คือคำนึงถึงความพอดี ไม่มากเกินไป หรือไม่น้อยเกินไป ฝึกตนเองให้มีสติมีสมาธิตั้งมั่นในการดำรงชีวิตการทำงานพัฒนาปัญญาให้สามารถรู้ผิด รู้ถูก รู้ควร รู้ไม่ควร จนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลทุกขณะ

ดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้ว่า ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหลักปรัชญาที่เป็นสากล สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกศาสนาอย่างแท้จริง

“…เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั้นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป…”

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2542

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่

11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version