Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

15 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร
แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร 15/20

ไม่ขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถ้าหากเราสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีอย่างยั่งยืนได้ เนื่องจากเทคโนโลยีก่อให้เกิดความก้าวหน้าในเชิงการพัฒนา การถ่ายโอนเทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการและขึ้นตอนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ ทั้งนี้ ในท้ายที่สุดแล้วจะต้องนำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเองได้ทางเทคโนโลยี กล่าวคือมีความสามารถพัฒนาประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้ด้วยตนเอง

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารนำมาประยุกต์ใช้กับการถ่ายโอนเทคโนโลยีได้เป็นอย่างดี โดยเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเน้นแนวทางการดำเนินทางสายกลาง จะมีส่วนเสริมการถ่ายโอนเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมได้ดังนี้ คือ

– ความพอประมาณ ทำให้คำนึงถึงระดับของเทคโนโลยีที่จะถ่ายโอน ให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะสมกับการพัฒนาของประเทศในขณะนั้นเพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด

– ความมีเหตุผล ทำให้คำนึงถึงประโยชน์และโทษของเทคโนโลยีนั้น ๆ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่าควรรับการถ่ายโอนและเตรียมพร้อมการจัดการที่เหมาะสมกับสภานการณ์ และก่อนประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

– การมีภูมิคุ้มกันที่ดี ทำให้การพัฒนาในเชิงการลงทุนทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างดี สมดุลกับระดับการพัฒนาของประเทศไม่น้อยเกินไปจนต้องพึ่งพิงภายนอกตลอดเวลาแต่ก็ไม่มากเกินไปจนเกิดความเสี่ยงหรือก่อให้เกิดหนี้สินล้นพ้น และเตรียมความพร้อมถึงผลกระทบทางลบ หรือผลกระทบทางอ้อมที่อาจเกิดขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจพอเพียงยังมีเงื่อนไขในด้านความรู้ และคุณธรรม จึงทำให้การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ ต้องประกอบด้วยความรอบคอบและระมัดระวัง มุ่งให้ประโยชน์อย่างแท้จริงต่อประชาชนหมู่มากและประเทศ เพื่อให้การถ่ายโอนเทคโนโลยี เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสมต่อการพัฒนาในแต่ละช่วงของระดับการพัฒนาของประเทศ

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่

11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version