Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่ – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่ 12/20

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักการที่เน้นผลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมุ่งสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิต ดังจะเห็นได้จากความหมายของปรัชญาฯ ที่ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ในรัชกาลที่ ๙) เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงที่กล่าวไว้ว่า

“…เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดังครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ…เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจาดโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี”

หากพิจารณาจากความหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืนแล้วจะเห็นได้ว่า หลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การพัฒนาที่มุ่งสร้างความสมดุล 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อม ๆ กัน ไม่ใช่มุ่งพัฒนาด้านเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว และนอกจากนี้แล้ว ยังเป็นเรื่องของมิติเวลา คือ พัฒนาต่อเนื่องข้าวเวลาจากปีหนึ่งสู่ปีต่อไป หรือจากคนรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหลังไปเรื่อย ๆ

อย่างไรก็ดี การพัฒนาบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายกว้างกว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนในความหมายที่ใช้กันอยู่ทั่วไป

กล่าวคือ หลักเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดเงื่อนไขในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยให้ความสำคัญกับวิธีการใช้ความรู้อย่างรอบคอบ และระมัดระวังตลอดจนคำนึงถึงคุณธรรม ได้แค่ ความซื่อสัตย์ ความไม่โลภ ความรู้จักพอ ความขยันหมั่นเพียร การไม่เบียดเบียนกัน การรู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งระบบคุณค่านี้เป็นพื้นฐานของวิถีปฏิบัติที่จะนำไปสู่การีพัฒนา ที่สมดุลและยั่งยืน และก่อให้เกิดสังคมแห่งความพอเพียงได้ในที่สุด

ยกตัวอย่าง ชุมชมหรือองค์กรที่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงจะมุ่งสร้างจิตสำนึกและความรู้ ให้สมาชิกรู่จักใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างยั่งยืน สนับสนุนการรวมตัวกันโดยอาศัยทุนทางสังคมหรือวัฒนธรรม เป็นพื้นฐานสร้างองค์กรหรือเครือข่ายที่เข้มแข็งในระดับชุมชน หรือระดับเครือข่ายธุรกิจเอกชน เพื่อให้ทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อม ๆ กับ สร้างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีให้แก้ทุกคน

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่

11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version