Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร 5/20

ชุมชนเข้มแข็ง คือ ชุมชนที่มีจิตสำนึกสาธารณะ มีความเอื้ออาทรมีผู้นำที่ดี มีคุณธรรม เมตตาธรรม รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลของตนเอง มีกระบวนการเรียนรู้ พัฒนากิจกรรมบนพื้นฐานของศักยภาพชุมชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุล และมีกระบวนการพัฒนา ปละติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้น ชุมชนเข้มแข็งจึงเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านความคิดที่อยู่บนพื้นฐานของการคิดที่จะพึ่งตนเองให้ได้ก่อน ในเบื้องต้น คิดที่จะแบ่งปันเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกัน ตลอดจนตั้งอยู่บนเหตุผล และความสมดุลของแต่ละชุมชน

จากลักษณะที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่า แนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งสอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กล่าวคือ การประยุกต์ใช้ปรัชญาฯ ในระดับครอบครัวและชุมชนนั้น ส่งเสริมการดำเนินชีวิตขชองครอบครัวและชุมชนที่พอกินพอใช้เป็นพื้นฐานโดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น ขณะเดียวกันผู้ที่ฐานะเพียงพอที่จะพึ่งตนเองได้แล้วนั้นย่อมสามารถสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชุมชนและสังคมได้ บนพื้นฐานของการแบ่งปัน ร่วมมือ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะนำไปสู่การเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง และการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแก่นของแนวความคิดในการสร้างเศรษฐกิจชุมชม และความเข้มแข็งของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 2 คือการรวมกลุ่ม และขั้นที่ 3 มีการขยายผลเป็นเครือข่ายที่กว้างขึ้นในสังคม

นอกจากนี้แล้ว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยังเน้นการสร้างฐานรากของประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความเข้มแข็งและมีความสมดุล ซึ่งทำได้ด้วยการพัฒนาคน สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ของชุมชน สร้างองค์ความรู้ในเครือข่าย และพัฒนาระบบ/ส่งเสริมการบริหารจัดการท้องถิ่นที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีความสอดคล้องกับแนวทางพัฒนาชุมชนเข้มแข็งทั้งสิ้น

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่

11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version