Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร – นานา คำถาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นานา คำถาม เกี่ยวกับ ปรัชญา ของ “เศรษฐกิจพอเพียง” “Sufficiency Economy” วันนี้จะมาเสนอตอน… ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร ? 1/20

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร ?
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี และได้ทรงเน้นย้ำแนวทางพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การป้องกันให้รอดพ้นจากวิกฤต และให้สามรารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ในฐานะหน่วยงานหลักในการวางแผนของประเทศตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิดดังกล่าว จึงได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ มาร่วมกันพิจารณากลั่นกรองพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจพอเพียง สรุปออกมาเป็นนิยามความหมาย “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

จากนั้น สคช. ได้นำขึ้นทูลกล้าฯ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตนำบทความดังกล่าวไปเผยแพร่เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกระดับมีความเข้าใจในหลักปรัชญาฯ และใช้เป็นพื้นฐานและแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทาน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่ขอพระมหากรุณา เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒

สคช. ได้อัญเชิญ “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๔๕-๒๕๔๘) และฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) รวมทั้งได้เสริมสร้างความเข้าใจไปยังภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจเห็นคุณค่า และน้อมนำไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตต่อไป

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง อย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขึ้นตอน และขณะเดียวกันก็จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฏีและนักธุกกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวุตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภาพนอกได้อย่างดี

Sufficiency Economy
“Sufficiency Economy” is a philosophy bestowed by His Majesty the King to his subjects through royal remarks on many occasions over the past three decades. The philosophy provides guidance on appropriate conduct covering numerous aspects of life. After the economic crisis in 1997, His Majesty reiterated and expanded on the “Sufficiency Economy” in remarks made in December 1997 and 1998. The philosophy points the way for recovery that will lead to a more resilient and sustainable economy, better able to meet the challenges arising from globalization and other changes.

Philosophy of the Sufficiency Economy”
“Sufficiency Economy” is a philosophy that stresses the middle path as an overriding principle for appropriate conduct by the populace at all levels. This applies to conduct starting from the level of the families, communities, as well as the level of nation in development and administration so as to modernize in line with the forces of globalization. “Sufficiency” means moderation, reasonableness, and the need of self-immunity for sufficient protection from impact arising from internal and external changes. To achieve this, an application of knowledge with due consideration and prudence is essential. In particular great care is needed in the utilization of theories and methodologies for planning and implementation in every step. At the same time, it is essential to strengthen the moral fibre of the nation, so that everyone, particularly public officials, academics, businessmen at all levels, adheres first and foremost to the principles of honesty and integrity. In addition, a way of life based on patience, perseverance, diligence, wisdom and prudence is indispensable to create balance and be able to cope appropriately with critical challenges arising from extensive and rapid socioeconomic, environmental, and cultural changes in the world.

องค์ประกอบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ชีวิตดำเนินไปในทางสายกลางที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีความเป็นอยู่อันเรียบง่ายของคนไทย ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับประชาชนทุกระดับ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร และระดับประเทศได้

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ ดังนี้

– ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีต่อความจำเป็นและเหมาะสมกับฐานะของตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป และต้องไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น

– ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจดำเนินการเรื่องต่างๆ อย่างมีเหตุผลตามหลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมที่ดีงาม คิดถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างถ้วนถี่ โดยคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

– ภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถปรับตัวและรับมือได้อย่างทันท่วงที

เงื่อนไขสำคัญเพื่อให้เกิดความพอเพียง การตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต้องอาศัยทั้งเงื่อนไข่คุณธรรม หลักวิชา และเงื่อนไขชีวิตเป็นพื้นฐาน

– เงื่อนไขคุณธรรม เสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติให้มีความซื่อสัตย์สุจริต รู้ รัก สามัคคี ไม่โลภ ไม่ตระหนี่ และรู้จักแบ่งปันให้ผู้อื่น

– เงื่อนไขหลักวิชา อาศัยความรู้ รอบคอบ และระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้วางแผนและดำเนินการทุกขึ้นตอน

– เงื่อนไช่ชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน มีความเพียร มีสติปละปัญญา บริหารจัดการการใช้ชีวิต โดยใช้หลักวิชาและคุณธรรมเป็นแนวทางพื้นฐาน

การน้อมนำหลักปรัชญาฯ มาปฏิบัติ
ทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาฯ มาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ ไม่ใช่เฉพาะในหมู่คนจนหรือเกษตรกร โดยตรง “ระเบิดจากข้างใน” คือ การเกิดจิตสำนึก มีความศรัทธา เชื่อมั่น เห็นคุณค่า และนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง และจึงขยายไปสู่ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติต่อไป

– ความพอเพียงระดับบุคคลและครอบครัว มุ่งเน้นให้บุคคลและครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขทั้งทางกายและทางใจ พึ่งพาตนเอง อย่างเต็มความสามารถ ไม่ทำอะไรเกินตัว ดำเนินชีวิตโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมทั้งใฝ่รู้และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงในอนาคตและเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ในที่สุด เช่น หาปัจจัยสี่มาเลี้ยงตนเองและครอบครัว จากการประกอบสัมมาชีพ รู้ข้อมูลรายรับ-รายจ่าย ประหยัด แต่ไม่ใช่ตระหนี่ ลด-ละ-เลิก อบายมุข สอนให้เด็กรู้จักคุณค่า รู้จักใช้ และรู้จักออมเงิน และสิ่งของเครื่องใช้ ดูแลรักษาสุขภาพ มีการแบ่งปันภายในครอบครัว ชุมชน และสังคมรอบข้าง รวมถึงการรักษาวัฒนธรรม ประเพณี และการอยู่ร่วมกันกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

– ความพอเพียงระดับชุมชน คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชนบทหลักของความ รู้ รัก สามัคคี สร้างเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในชุมชนและนอกชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรราชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การรวมกลุ่มอาชีพ องค์กรการเงิน สวัสดิการชุมชน การช่วยดูแลรักษาความสงบ ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย รวมทั้งการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมาสร้างประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งและมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง

– ความพอเพียงในภาคธุรกิจเองชน เริ่มจากความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจที่หวังผลประโยชน์หรือกำไรในระยะยาวมากกว่าระยะสั้น แสวงหาผลตอบแทนบนพื้นฐานของการแบ่งปัน มุ่งให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสมเป็นธรรม ทั้งลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และพนักงาน ด้านการขยายธุรกิจต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปรวมทั้งต้องมีความรู้ และเข้าใจธุรกิจของตนเอง รู้จักลูกค้า ศึกษาคู่แข่ง และเรียนรู้การตลาดอย่างถ่องแท้ ผลิตในสิ่งที่ถนันและทำตามกำลัง สร้างเอกลักษณ์ที่แตกต่างและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง มีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น มีความซื่อสัตย์รับผิดชอบต่อสังคม และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญต้องสร้างเสริมความรู้และจัดสวัสดิการให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม

– ความพอเพียงระดับประเทศ เป็นการบริหารจัดการประเทศโดยเริ่มจากการวางรากฐานให้ประชาชนส่วนใหญ่อย่างพอมีพอกิน และพึ่งตนเองได้ มีความรู้และคุณธรรมในการดำเนินชีวิต มีการรวมกลุ่มของชุมชนหลายๆ แห่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้สืบทอดภูมิปัญญา และร่วมกันพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงอย่างรู้ รัก สามัคคี เสริมสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระหว่างชุมชนให้เกิดเป็นสังคมแห่งความพอเพียงในที่สุด

การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในด้านต่างๆ

– ด้านเศรษฐกิจ ไม่ใช้จ่ายเกินตัว ไม่ลงทุนเกินขนาด คิดและวางแผนอย่างรอบคอบ มีภูมิคุ้มกันไม่เสี่ยงเกินไป

– ด้านจิตใจ มีจิตใจเข้มแข็ง มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว

– ด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน รู้ รัก สามัคคี สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน รักษาเอกลักษณ์ ภาษา ภูมิปัญญาวัฒนธรรมไทย

– ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ ฟื้นฟูทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและคงอยู่ชั่วบูกหลาน

– ด้านเทคโนโลยี รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วนของสังคมอย่างจริงจัง จะส่งผลให้การพัฒนาประเทศก้าวหน้าไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งด้านชีวิต เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่ “ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทย”

>เชิญเข้ากลุ่มFB : เกษตรในฝัน<

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

1/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง “Sufficiency Economy” และการประยุกต์ใช้ คืออะไร

2/20 ทำไมภาคการเกษตรได้รับความสนใจในเรื่องการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้มากกว่าสาขาการผลิตอื่น

3/20 การปลูกข้าว 5 ไร่ และการมีบ่อน้ำในพื้นที่ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่

4/20 เกษตรทฤษฎีใหม่ ใช้ได้ทั่วประเทศหรือไม่

5/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความเชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนเข้มแข็งอย่างไร

6/20 เศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ผลิตเพื่อบริโภคเองเท่านั้น แต่ไม่ส่งเสริมการผลิตเพื่อค้าขาย ใช่หรือไม่

7/20 ถ้าใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จะต้องเลิกค้าขายกับภายนอก ใช่หรือไม่

8/20 การผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่

9/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขัดต่อหลักการทางธุรกิจที่เน้นการหากำไร หรือไม่

10/20 ถ้าเราใช้ชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เราสามารถใช้ของแพงได้หรือไม่ หรือสามารถกู้ยืมเงินได้หรือไม่

11/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความแตกต่างจากแนวคิดของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักอย่างไร

12/20 เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือไม่

13/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายการเงินการคลัง ได้หรือไม่

14/20 เศรษฐกิจพอเพียง ไม่สนใจสาขาการผลิตที่ทันสมัย จริงหรือไม่

15/20 การพัฒนาประเทศที่ใช้กลไกการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จะขัดกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร

16/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจะประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทย ได้หรือไม่

17/20 แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวคิดอุดมคติ หรือไม่

18/20 การดำเนินชีวิตตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรเริ่มต้นจากอะไร

19/20 เราจะประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสังคมแต่ละระดับ อาทิ ระดับปัจเจกบุคคล ระดับชุมชน และระดับรัฐ ได้อย่างไร

20/20 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำไปใช้ได้กับคนทุกวัย และทุกศาสนา ได้หรือไม่

ที่มา : หนังสือ นานาคำถามเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, โดย – สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.)


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version