‘พด.13’ สาร พด. น้องใหม่ จาก กรมพัฒนาที่ดิน ลดการใช้ปุ๋ย 25-50% เพิ่มผลผลิต 10-20% (มีคลิป)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน


‘พด.13’ สาร พด. น้องใหม่ จาก กรมพัฒนาที่ดิน ลดการใช้ปุ๋ย 25-50% เพิ่มผลผลิต 10-20% (มีคลิป)

พด.13 ไมคอร์ไรซา สำหรับข้าวโพด ช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต เป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการลดต้นทุน

สาร พด.13 ไมคอร์ไรซา คืออะไร ? สาร พด.13 ไมคอร์ไรซา สำหรับข้าวโพด ช่วยเพิ่มการดูดใช้ธาตุอาหารพืชโดยเฉพาะฟอสฟอรัส ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิตข้าวโพด ซึ่งประกอบไปด้วย

1. ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา 2 สายพันธุ์ ได้แก่ Glamus sp. และ Acaulospora sp. เป็นราที่อาศัยอยู่ร่วมกับรากพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน อาราร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซาจะสร้างเส้นใยเจริญรอบราก แล้วเข้าไประหว่างเซลล์รากพืช โดยมีการสร้างโครงสร้างพิเศษ ช่วยดูดซับธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ส่งต่อให้กับพืชและได้รับคาร์โบไฮเดรตจากพืช ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของข้าวโพด

ราอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา-2-สายพันธุ์-ได้แก่-Glamus-sp.-และ-Acaulospora-sp

2. แบคทีเรีย 2 สายพันธุ์ ได้แก่ แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอินสระ Azotobacter Chroococcum ช่วยตรึงก๊าซไนโตรเจนในอากาศและเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแอมโมเนียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ส่งเสริมการเจริญเติบโต และการพัฒนาของรากพืช ทำให้เพิ่มการเข้าอยู่อาศัยของไมคอร์ไรซา และ แบคทีเรียผลิตฮอร์โมนพืช Bacillus sp. ช่วยกระตุ้นการเจริญของรากขนอ่อน และช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวของรากพืช ทำให้ไมคอร์ไรซาเข้าอยู่อาศัยได้เพิ่มขึ้น

แบคทีเรียตรึงไนโตรเจนแบบอินสระ-Azotobacter-Chroococcum.
แบคทีเรียผลิตฮอร์โมนพืช-Bacillus-sp..

วัตถุและวิธีการขยายเชื้อ พด.13
พด.13 ไมคอร์ไรซาสำหรับข้าวโพด จะต้องนำไปเพิ่มปริมาณสปอร์ในพืชอาศัย เช่น ข้าวโพด หรือข้าวฟ่าง เป็นเวลา 60 วัน เพื่อให้ได้ปริมาณเพียงพอกับการใช้หยอดก้นหลุมปลูกข้าวโพดได้ 1 ไร่

วัสดุสำหรับขยายเชื้อ
– ทราย 8 กิโลกรัม
– ปุ๋ยหมัก 2 กิโลกรัม
– กระถาง หรือ ถุง 1 ใบ
– เมล็ดข้าวโพด หรือ ข้าวฟ่าง 5 เมล็ด
– สารเร่ง พด.13 (100 กรัม) 1 ซอง


วิธีการขยายเชื้อสำหรับปลูกข้าวโพดพื้นที่ 1 ไร่
1. การเตรียมวัสดุปลูก ผสมทราย 8 กิโลกรัม กับปุ๋ยหมัก 2 กิโลกรัม คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำมาใส่ภาชนะปลูก เช่น กระถาง ถุงพลาสติก รพน้ำให้ชุ่ม

2. เจาะหลุม 5 หลุม โรย พด.13 1 ซอง รองก้นหลุม หลุมละ 20 กรัม แล้วหยอดเมล็ดข้าวโพด 1 เมล็ดต่อหลุม เพื่อขยายเชื้อ และดูแลให้น้ำสม่ำเสมอ เป็นเวลา 60 วัน จึงนำไปใช้เป็นหัวเชื้อสำหรับปลูกข้าวโพด

3. ก่อนเก็บหัวเชื้อเป็นเวลา 1 สัปดาห์ งดการให้น้ำ เก็บหัวเชื้อโดยตัดต้นข้าวโพดออก เหลือวัสดุปลูกกับราก นำหัวเชื้อผึ่งที่ร่มให้แห้ง แล้วนำไปใช้หรือเก็บใส่ถุงไว้ในที่ร่ม

อัตราและวิธีการใช้ ใช้หัวเชื้อ
การเตรียมดินปลูกข้าวโพด ใช้หัวเชื้อ พด.13 ไมคอร์ไรซาที่ขยายเชื้อเตรียมไว้ ในอัตรา 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยแบ่งใส่ 2 ช้อนชา (10 กรัม) รองก้นหลุ่ม พร้อมหยอดเมล็ดข้าวโพดตาม

ประโยชน์ของ พด.13 ไมคอร์ไรซา
1. ช่วยเพิ่มการดูดน้ำและธาติอาหารของพืช เส้นใยของราไมคอร์ไรซาที่เจริญรอบรากและแพร่กระจายในดิน ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวทำให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารเพิ่มขึ้น จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช

2. ช่วยให้พืชดูดฟอสฟอรัสได้เพิ่มขึ้น 20-30 เปอร์เซนต์

3. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีสำหรับการปลูกข้าวโพด 25-50 เปอร์เซนต์

4. ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวโพด 10-20 เปอร์เซนต์


คำแนะนำ
1. ไม่ควรใช้ไมคอร์ไรซาร่วมกับสารกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เนื่องจากมีผลยับยั้งการเจริญเติบโตของไมคอร์ไรซา เช่น ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม เมทาแลกซิล และแมนโคเซบ

2. ควรเก็บผลิตภัณฑ์ พด.13 ไม่คอร์ไรซาสำหรับข้าวโพดแบบซอง และที่ขยายเชื้อแล้วไว้ในที่ร่ม

กรอกข้อมูลเพื่อขอรับบริการได้ที่
http://sql.ldd.go.th/service64/index.html

รวม สารเร่ง พด. 1 – 12

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน โทร : 02-579-0679 คอลเซนเตอร์ Call center 1760 www.ldd.go.th

เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  มอดข้าวเปลือก (Lesser grain borer) แมลงศัตรูของเมล็ดพืช และผลิตผลเกษตร

เรื่องที่เกี่ยวข้อง