@supports not (aspect-ratio: 16 / 9) { presto-player:not(.hydrated) { height: 0; padding-bottom: 56%; position: relative; } } presto-player:not(.hydrated) { position: relative; background: rgba(0, 0, 0, 0.1); width: 100%; display: block; aspect-ratio: 16 / 9; } presto-player:not(.hydrated) .presto-loader { display: block; } .presto-block-video:not(.presto-sticky-parent) { border-radius: var(--presto-player-border-radius, 0px); overflow: hidden; transform: translateZ(0); } .presto-block-video.presto-provider-audio{ overflow: visible; } .presto-block-video .presto-sticky-parent { overflow: auto; transform: none; } .presto-sticky-parent { z-index: 99998 !important; } .presto-player-fullscreen-open { z-index: 9999999 !important; overflow: visible !important; transform: none !important; } presto-playlist, presto-player-skeleton, presto-timestamp, presto-video-curtain-ui, presto-search-bar-ui, presto-player-button, presto-cta-overlay-ui, presto-video, presto-action-bar-ui, presto-youtube-subscribe-button, presto-email-overlay-ui, presto-player-spinner, presto-action-bar, presto-cta-overlay, presto-email-overlay, presto-bunny, presto-dynamic-overlays, presto-search-bar, presto-youtube, presto-audio, presto-business-skin, presto-modern-skin, presto-muted-overlay, presto-stacked-skin, presto-vimeo, presto-action-bar-controller, presto-cta-overlay-controller, presto-email-overlay-controller, presto-dynamic-overlay-ui, presto-player, presto-playlist-item, presto-playlist-overlay, presto-playlist-ui { visibility: hidden; } .hydrated { visibility: inherit; } lang="th"> วิธีปลูก และขยายพันธุ์ดอกมะลิ(แบบละเอียด) พร้อมวิธีบังคับดอกมะลิให้ออกดอกช่วง 'แพง' (มีคลิป) - เกษตร นานา Kaset NaNa
Site icon เกษตร นานา Kaset NaNa

วิธีปลูก และขยายพันธุ์ดอกมะลิ(แบบละเอียด) พร้อมวิธีบังคับดอกมะลิให้ออกดอกช่วง ‘แพง’ (มีคลิป)

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

วิธีปลูก และขยายพันธุ์ดอกมะลิ พร้อมวิธีบังคับดอกมะลิให้ออกดอกช่วง ‘แพง’ (มีคลิป)

ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่เป็นตัวแทนแห่งความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ และยังเป็นดอกไม้ที่ใช้กันตลอดทั้งปีเช่นนำมาร้อยพวงมาลัย ใช้ในทางศาสนา-ความเชื้อต่างๆ ดอกมะลิจะมีช่วงราคาแพงในแต่ละปีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงวันแม่แห่งชาติ และ ช่วงฤดูหนาว(พ.ย.-ก.พ.) และบางครั้งก็แพงช่วงน้ำท่วมอีกด้วย วันนี้เกษตรนานา จะพาไปปลูกดอกมะลิกัน ตามไปดูเลยครับ


การขายพันธุ์ดอกมะลิ จะนิยมปลูก 3 แบบ ได้แก่
– ปลูกด้วยวิธีการปักชำ
– ปลูกด้วยวิธีการตอนกิ่ง
– ปลูกด้วยวิธีการทาบกิ่ง

ในที่นี้ เราจะมาพูดถึงการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว เหมาะกับการขยายพันธุ์ไปปลูกในแปลงใหญ๋ พันธุ์ดอกมะลิที่นิยมปลูกเพื่อการค้า ได้แก่ ดอกมะลิพันธุ์เพชรบุรี, ดอกมะลิพันธุ์นครสวรรค์ และดอกมะลิพันธุ์ราชบูรณะ เพราะเป็นชนิดพันธุ์ที่ปลูกง่าย ให้ดอกดก ใหญ่ เป็นที่ต้องการของตลาด บางแปลงจะปลูกทั้ง 3 สายพันธุ์ในแปลงเดียวกันเพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษา ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้หลายปี

วิธีปลูกดอกมะลิด้วยวิธีการปักชำ

สิ่งที่ต้องเตรียม
– กระบะหรือถาดเพาะเมล็ด-กล้าพืช
– กรรไกรตัดกิ่ง
– น้ำยาเร่งราก
– ถุงพลาสติกใสสำหรับคลุมกระถาง (หรือโรงควบแน่น)
– วัสดุในการปักชำ (ทราย ขี้เถ้า และน้ำยาเร่งราก)
– วัสดุในการปลูก (ดินร่วน ปุ๋ยคอก และขุยมะพร้าว) (สูตรดินปลูก)

วิธีปักชำดอกมะลิ
1. นำทรายมาผสมกับขี้เถ้าในปริมาณเท่ากัน นำไปเทใส่กระบะหรือถาดเพาะไว้ปักชำที่เตรียมไว้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

2. คัดกิ่งพันธุ์มะลิที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป โดยตัดให้กิ่งนั้นยาวประมาณ 4 นิ้ว ลิดใบส่วนล่างออก ให้เหลือแต่ใบด้านบนเพียง 1 ใบ เพื่อลดการคายน้ำ (ถ้าอยากให้รากงอกเร็วกว่าปกติ แนะนำให้จุ่มกิ่งพันธุ์มะลิลงในน้ำยาเร่งราก ก่อนนำมาขยายพันธุ์)

3. นำกิ่งพันธุ์มาปักลงในกระบะหรือถาดเพาะที่เราเตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าแฉะจนเกินไป

4. นำถุงพลาสติกใสมาห่อหุ้มกระบะหรือถาดเพาะกล้าไว้ให้มิดเพื่อทำการควบแน่น หรือนำไปเข้าโรงควบแน่น เพื่อรักษาความชื้นให้สมดุล และตั้งในที่มีแดดรำไร

5. รากจะงอกออกมาภายใน 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้ย้ายมาปลูกเลี้ยงต่อในถุงดำ อีก 7-15 วัน จึงสามารถนำไปปลูกในแปลงได้

การปลูกดอกมะลิ
– หลังจากไถ่พรวนดินตากแดด 5-7 แดดเพื่อกำจัดวัชพืชศัตรูพืช เตรียมแปลงปลูกเสร็จแล้ว ให้ขุดหลุมปลูก 30x30x30 ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 70 เซนติเมตร – 100 เซนติเมตร (ถ้าระยะห่าง 1×1 เมตร 1 ไร่สามารถปลูกต้นมะลิได้ 1,600 ต้น) รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแห้ง 3-5 กำมือ โรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ ลงไปประมาณ 1 กำมือ เพื่อปรับสภาพดิน ลดความเป็นกรดเป็นด่าง

– นำกิ่งพันธุ์ดอมะลิที่เตรียมไว้ลงหลุมปลูก กลบดินให้แน่นแล้วรดน้ำให้พอชุ่ม

การให้น้ำดอกมะลิ
– ดอกมะลิที่ปลูกใหม่ให้รดน้ำทุกวันในตอนเช้า เพื่อให้ต้นมะลิได้รับน้ำอย่างเพียงพอ การปลูกต้นฤดูฝนถ้าวันไหนฝนไม่ตกค่อยรดน้ำและพยายามอย่าให้มีน้ำท่วมขังแปลง แปลงปลูกควรเป็นแปลงที่ระบายน้ำได้ดี ถ้าน้ำขังแฉะต้นมะลิใบจะเหลือง ต้นแคระแกร็นและตาย

– เมื่อต้นมะลิเจริญเติบโตได้ดีแล้ว ควรรดน้ำวันละ ครั้งหรือ 2 วันครั้ง

การใส่ปุ๋ยดอกมะลิ
– หลังจากปลูกดอกมะลิ 10 วันแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น โดยหว่านกระจายรอบทรงพุ่มต้นแล้วพรวนดินกลบแล้วรดน้ำพอชุ่ม

– หลังจากปลูก 30 วัน ได้ใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 ในอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อต้น โดยหว่านให้กระจายรอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบแล้วรดน้ำพอชุ่ม

– และหลังจากนั้นอีกราว 40-45 วัน ได้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก 1/2 กิโลกรัมต่อต้น โดยหว่านให้รอบทรงพุ่มแล้วพรวนดินกลบแล้วรดน้ำพอชุ่ม ทำเหมือนเดิมเดือนละ 1 ครั้ง ต้นมะลิก็จะเจริญเติบโตได้ดี

*** เทคนิคบำรุงต้นมะลิเพื่อกระตุ้นดอก บำรุงต้นด้วยอาหารทางใบ สูตรโพแทสเซียมไนเตรท (13-0-46) ความเข้มข้น 2.5% ในอัตรา 500 กรัม/ น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม และให้ปุ๋ยทางดินเดือนละครั้งด้วยสูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 ช้อนแกง/ต้น พร้อมกับใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1 กก./ ต้น หรือมากกว่าตามความเหมาะสม

ศัตรูพืชดอกมะลิ
– ถ้าตรวจพบว่ามีเพลี้ยไฟ ตั๊กแตน หรือหนอนเจาะดอกมะลิ เข้าทำลายไม่มากก็จับหรือตัดกิ่งออกไปทำลายทิ้ง หรือถ้าจำเป็นก็ฉีดพ่นสารสะเดาป้องกันกำจัด เป็นวิธีที่ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและไม่มีสารเคมีตกค้างอยู่ในดอกมะลิ ทำให้ผู้ปลูกและผู้บริโภคได้ใช้ประโยชน์จากดอกมะลิมีคุณภาพปลอดภัย

*** หมายเหตุ : ในช่วงฝนตกหรือฤดูฝนแมลงศัตรูพืชดอกมะลิจะเยอะ

การตัดแต่งกิ่งต้นมะลิ
การตัดแต่งกิ่งต้นมะลิจะสามารถกระตุ้นให้แตกกิ่งใหม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ และสามารถเก็บดอกมะลิจำหน่ายได้หลังการตัดแต่งกิ่ง 30 วัน โดยการตัดแต่งกิ่งจะเน้นตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งที่ถูกแมลงทำลาย กิ่งไขว้ล้มเอนไม่เป็นระเบียบ และกิ่งเลื้อย ซึ่งการตัดแต่งกิ่งมะลิที่ทำแล้วได้ผลดีในการกระตุ้นดอก มี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ตัดแต่งแบบเหลือกิ่งไว้กับต้นยาว เหมาะสำหรับต้นมะลิที่ยังมีอายุน้อย โดยตัดแต่งกิ่งออกเพียงเล็กน้อยให้เหลือกิ่งสมบูรณ์ไว้กับต้นให้มากที่สุด

วิธีที่ 2 แบบเหลือกิ่งไว้กับต้นสั้น เหมาะสำหรับมะลิที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป โดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียง 3-4 กิ่งแต่ละกิ่งยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต

การกระตุ้นดอกมะลิให้ออกดอก ในช่วงที่มีราคาแพง
เมื่อมะลิเริ่มมีทรงพุ่มและขนาดใหญ่ตามที่ต้องการแล้ว ก็จะเริ่มทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อเป็นการบังคับให้มะลิออกดอกในช่วงที่ต้องการ เช่น อยากให้ดอกมะลิออกดอกในช่วงที่มีราคาแพงคือช่วงฤดูหนาว ก็จะทำการตัดแต่งกิ่งมะลิในช่วงเดือนกันยายน จากนั้นงดรดน้ำประมาณ 10-15 วัน ลักษณะของต้นก็จะเริ่มมีใบเหลืองๆ เหมือนจะร่วง จากนั้นให้ทำการรดน้ำและใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 เหมือนเดิม พร้อมทั้งสลับกับการให้ปุ๋ยคอกเข้าไปด้วย ต้นมะลิจะค่อยๆ แตกยอดอ่อนออกมา จากนั้นอีกประมาณ 1 เดือน มะลิก็จะเริ่มให้ดอกเต็มที่สามารถเก็บได้ทุกวัน และที่สำคัญราคาในช่วงฤดูหนาวยังดีอีกด้วย

การดูแลมะลิในช่วงฤดูหนาวนั้น จะเน้นที่การบำรุงต้น เพื่อให้มะลิมีดอกใหญ่ไม่เคระแกร็น และในฤดูหนาวเป็นช่วงเวลาที่พืชไม่ค่อยเจริญอาหาร(สภาพหนาวเย็นทำให้เกิดกระบวนการสังเคราะห์แสงน้อย) จึงจำเป็นต้องมีการใหั้ปุ๋ยทางใบชนิดที่มีธาตุฟอสฟอรัสสูงเสริม เช่น สูตร 10-45-10 ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร เพื่อให้พืชสามารถดึงไปใช้ได้ทันที

การเก็บเกี่ยวดอกมะลิ
– เมื่อปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาได้ดี ต้นมะลิก็เจริญเติบโตสมบูรณ์ หลังจากปลูกในราว 6 เดือนขึ้นไป ก็เริ่มเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บได้เก็บเวลาเช้า แดดไม่ร้อน ดอกไม่ช้ำ ด้วยการใช้นิ้วมือเด็ดดอกตูมโตเต็มที่ สีขาวนวลที่ตรงบริเวณก้านดอกใต้กลีบเลี้ยงให้ขาดออกมาวางใส่ในถุงผ้าย่าม นำไปรวบรวมใส่ถุงพลาสติกสะอาด ถ้าเก็บในกล่องโฟมที่มีน้ำแข็งเกล็ดรองพื้นและโรยปิดทับจะช่วยให้ดอกมะลิมีความสดได้นานก่อนนำส่งขาย (การเก็บดอกมะลิขาย จะเก็บเฉพาะดอกตูมเท่านั้น ดอกบานแล้วไม่สามารถเก็บขายได้ ควรเด็ดทิ้ง)

– มะลิ 100 ต้น ได้ผลผลิตเฉลี่ย ดังนี้ การเก็บดอกครั้งแรก จะได้ดอกมะลิราว 5 ลิตร เมื่อเก็บครั้งที่ 2 จะได้ราว 10 ลิตร เก็บในครั้งที่ 3 จะได้ผลผลิต 20 ลิตร จากนั้นจะทำการพักต้นด้วยการตัดแต่งและบำรุงให้ต้นมะลิแตกกิ่งใหม่และได้ทรงพุ่มโปร่ง เมื่อต้นเจริญเติบโตสมบูรณ์จะเก็บดอกมะลิได้ในราว 20 ลิตร

ดอกมะลิที่รวบรวมไว้ได้นำไปขายที่ตลาดใกล้บ้าน ราคาขายส่ง ดอกมะลิในฤดูแล้งขาย 40-60 บาท ต่อลิตร ดอกมะลิในฤดูฝนขาย 150-250 บาท ต่อลิตร และดอกมะลิในฤดูหนาวขาย 500-2,000 บาท ต่อลิตร ราคาซื้อขายนี้ขึ้นอยู่กับตลาดและฤดูกาล การปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกมะลิพืชเศรษฐกิจสำคัญทำให้มีรายได้เงินแสนบาท ครอบครัวดำรงชีพได้แบบพอเพียงมั่นคง และมีพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบแม่ ในวันแม่แห่งชาติด้วย

เรียบเรียงโดย : เกษตร นานา


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
Exit mobile version