แนวทางการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ขนาดไม่เกิน 1 ไร่ สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

แนวทางการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน ขนาดไม่เกิน 1 ไร่ สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง

วันนี้เรามีแนวทางดีๆ มาฝากสมาชิกเพจเกษตร นานา ทุกท่านครับเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน “สำหรับมือใหม่” โดยเฉพาะ ส่วนขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุกจะเป็นอย่างไรตามไปดูกันเลยครับ

ขั้นตอนการเตรียมบ่อ

1. สำหรับบ่อใหม่
ควรจะมีการปรับสภาพดินก่อน เนื่องจากพื้นที่ดินแต่ละบริเวณนั้นไม่เหมือนกัน บางที่นั้นอาจจะมีกรดในดินค่อนข้างสูง เราจึงจะทำการโรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะกับการเลี้ยงปลาดุก อัตราส่วนที่จะใช้คือ ปูนขาว 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 10-25 ตารางเมตร โรยให้ทั่วบริเวณบ่อจากนั้นให้ตากไว้สัก 1 สัปดาห์แล้วค่อยปล่อยน้ำลงบ่อประมาณ 50 เซนติเมตร จากนั้นพักน้ำไว้ 5 วัน ค่อยนำปลาดุกที่เตียมไว้ลงในบ่อ

2. สำหรับบ่อเก่า
หากเลี้ยงปลาดุกได้ 3-4 รุ่นแล้ว ควรทำความสะอาดบ่อลอกเลนเนื่องจากบ่อเดิมนั้นอาจจะตื้นเกินไป เก็บกักน้ำไม่อยู่ ต่อมาให้สูบน้ำออกจากบ่อให้หมด ตากบ่อให้แห้ง ประมาณ 7-15 วัน โรยปูนขาว 1 กิโลกรัม/10 ตารางเมตร ทำคันบ่อใหม่ นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแช่ไว้ตามมุมบ่อเพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ จากนั้นเติมน้ำลงบ่อ ทิ้งไว้ 4-5 วัน จึงนำปลาลงบ่อ


วิธีการเลี้ยง
ก่อนจะนำลูกปลาลงบ่อนั้นแนะนำว่าให้ตักน้ำในบ่อมาผสมกับน้ำที่พักปลาไว้ก่อนให้ปลาได้ปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิของน้ำเพื่อป้องกันการช็อคน้ำของปลา และควรทำร่มเงาให้กับปลาด้วย เพื่อลดการตายของปลาจากความร้อน การปล่อยปลาลงบ่ออัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 60 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร เพื่อง่ายต่อการดูแลและไม่เยอะจนเกินไป ทั้งนี้ปลาดุกชอบกระโดดออกจากบ่อเลี้ยง ให้ล้อมขอบบ่อด้วยตาข่ายไนล่อนสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อป้องปลากระโดดออกจากบ่อครับ

การให้อาหาร
ปลาดุกเป็นปลาที่กินทั้งพืชและเนื้อ ควรจะให้อาหารทั้งสองประเภทเพื่อการเจริญโตได้สัดส่วนและมีคุณภาพ น้ำหนักดี ลำตัวแข็งแรง บริเวณที่ให้อาหารก็ควรจะเป็นบริเวณที่เดิมๆที่เคยให้ และควรให้เป็นเวลา เพื่อฝึกให้ปลารู้เวลาและปริมาณการกินอาหารในแต่ละวัน

1. อาหารประเภทเนื้อ ได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น ไส้เดือน หนอน หรือเนื้อสัตว์ตามความเหมาะสม

2. อาหารประเภทพืชผัก ได้แก่ ผักบุ้ง ผักตบชวา รำข้าว ปลายข้าว กากถั่ว กากมัน แป้ง ข้าวโพด และผักต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มสารอาหารให้ปลา


การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดินนั้น ถือเป็นการเลี้ยงแบบธรรมชาติ ข้อดีคือทั้งประหยัด ง่ายต่อการเริ่มต้นที่จะลงทุน สำหรับท่านไหนที่สนใจก็ลองเริ่มเลี้ยงดูกันได้นะครับ ไม่ยากอย่างที่คิด หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านนะครับ


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน
อ่าน :  สูตรใหม่ 'ไม่ต้องสับ ไม่ต้องหมัก' ตัดกล้วยขายแล้ว อย่าทิ้งต้นกล้วย สามารถทำเป็นปุ๋ยต่อได้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง