ภูมิปัญญาชาวบ้าน หลังคาไม้ไผ่ ไอเดียเก่าที่ยังใช้ได้ดีเสมอ
หลังคาไม้ไผ่ถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม ที่คนสมัยก่อนนิยมนำไม้ไผ่มาใช้ในการทำหลังคา ซึ่ง ไม้ไผ่เป็นพืชที่หาง่าย ทนแดด ทนฝน และ มีความแข็งแรงแต่ไม่เปราะ มีความทนทานในตัว ยืดดหยุ่นได้ในระดับหนึ่ง
การมุงหลังคาไม้ไผ่แบบนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “มุงหลังคาแบบอีคว่ำ อีหงาย” ด้วยคุณสมบัติที่ด้านในโปร่ง ทำให้เมื่อนำมาผ่าครึ่งก็จะเป็นเหมือนรางน้ำในตัว นำมาวาง คว่ำ และ หงาย สลับกันไปเรื่อยๆ ก็ได้เป็นหลังคาแล้ว
ชนิดของไม้ไผ่ที่นำมามุงหลังคา
– ไม้ไผ่ตรง ไม้ไผ่ที่นำมามุงหลังคาบ้านหากเป็นไม้ไผตรงยิ่งดีเพราะนอกจากจะทำให้ทรงหลังคาบ้านสวยงามแล้วยังช่วยลดการรั่วของน้ำได้ด้วย เพราะต้องน้ำไม้ไผ่มาประกบกัน
– ไม้ไผ่แห้ง ไม้ไผ่ที่นำมามุงหลังคาต้องแห้งเสียก่อนเพราะไม้ไผ่ที่ยังไม่แห้งนั้นสามารถหดตัวลงได้อีก
– ขนาดใหญ่ ไม้ไผ่ยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งดีเพราะจะทำให้ลดเวลาในการเตรียมไม้ไผ่เพื่อการมุงหลาน้อยลง
สำหรับการเตรียมไม้ไผ่เพื่อนำมาสร้างบ้าน ควรนำไปแช่น้ำเปล่า 3 วัน แล้วตามด้วยแช่น้ำเกลือ ก็ 1 วัน แล้ว นำมารมควัน ต่อด้วยการตากแดดให้แห้งอีกที เพื่อป้องกันป ลวกและมอดกิน จากนั้นจึงทาแลคเกอร์เคลือบจะทำให้ดูสวยงามและทนทาน ในเรื่องของคุณภาพนั้นหากทำตามขั้นตอนที่แนะนำ ก็จะทำให้ไม้ไผ่มีความทนทานนานหลายปีมาก
ตามชนบทในหลายพื้นที่ก็ยังนิยมใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุในการมุงหลังคาแสดงให้เห็นว่า ไม้ไผ่นั้นสามารถนำมามุงหลังคาและใช้งานได้จริง
นอกจากมุงแบบคว่ำหงายแล้ว หากหาไม้ไผ่ที่มีลำต้นตรงยาวไม่ได้ ก็ใช้ไม้ไผ่ท่อนเล็กๆ นำมาวางซ้อนกันเป็นแพแบบหลายๆชั้น ตั้งหลังคาให้ทำองศาชันกับพื้นมากหน่อยแบบนี้ ก็สามารถกันแดด กันฝน เป็นหลังคาได้เช่นกัน
ไม้ไผ่นี่เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมาย สามารถนำมาดัดแปลงทำอะไรได้หลายอย่างมาก หากใครมีไอเดียดีๆจากไม้ไผ่ก็อย่าลืมคอมเมนต์แบ่งปันประสบการให้กันฟังบ้างนะครับ