ปลูกพริกต้องรู้! 10 สายพันธุ์พริก ยอดนิยมที่ตลาดต้องการ ปลูกแล้วขายได้แน่นอน

แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

ปลูกพริกต้องรู้! 10 สายพันธุ์พริก ยอดนิยมที่ตลาดต้องการ ปลูกแล้วขายได้แน่นอน

จากการสํารวจข้อมูลของผู้รับซื้อพริกในเว็บไซต์ต่างๆ พบว่า มีการประกาศ รับซื้อพริกกันอย่างหลากหลาย แต่เมื่อสรุปประเด็นออกมาในแต่ละสายพันธุ์แล้วพบว่า มีสายพันธุ์พริกยอดนิยมที่ตลาดต้องการมากมาย จึงขอจัดเรียงอันดับ 10 ชนิดสายพันธุ์ ดังนี้

1. พริกชี้ฟ้า
พริกชี้ฟ้า มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันในแต่ละท้องถิ่น คือ พริกชี้ฟ้า พริกเดือยไก่ พริกบางช้าง พริกหนุ่ม (ภาคเหนือ) พริกมัน (กรุงเทพฯ) พริกแล้ง (เชียงใหม่) พริกซ่อม พริกขี้หนู พริกนก พริกแด้ (เหนือ) พริกขึ้นก ดีปลีขึ้นก (ใต้) ดีปลี (ปัตตานี) ปะแกว (นครราชสีมา) หมักเพ็ด พริกแกว (อีสาน) เป็นต้น

พริกชี้ฟ้า

พริกชี้ฟ้า เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวออกตรงกันข้ามหรือออกสลับ รูปใบหอก กว้าง 1-4 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ดอกสีขาว ออกเดี่ยวตามซอกใบและปลายกิ่ง โคนกลีบดอกเชื่อมกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ดอกห้อยลง เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน ผล รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียวแหลม มักโค้งงอ ยาว 6-9 เซนติเมตร ผิวเป็น มันสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีแดง มีเมล็ดแบนสีนวลจํานวนมาก

สายพันธุ์พริกชี้ฟ้าสามารถแบ่งได้ตามความต้องการตลาดเป็น 2 กลุ่ม คือ
– เพื่อใช้ประกอบอาหารสด พันธุ์ที่ปลูกมีทั้งพันธุ์พื้นเมือง พันธ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงานราชการและเอกชน เช่น พันธุ์มันบางช้าง พันธ์หนุ่มมอดินแดง

– เพื่อใช้แปรรูปทำซอสพริก เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกเช่นกัน มีทั้งสายพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงาน เช่น พันธุ์หยกสวรรค์ พันธุ์หยกสยาม พันธุ์แม่ปิง 80 พันธ์เรตฮอต TA100

2. พริกจินดา
จัดอยู่ในกลุ่มพริกขี้หนูผลใหญ่ที่มีความสำคัญในฐานะพืชเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน ใช้ทั้งในรูปพริกแห้ง พริกสด และซอสพริก มีแหล่งผลิตที่สําคัญอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองลงมาคือภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง เป็นต้น

พริกจินดา

พริกจินดา ผลมีขนาดเล็กเรียวยาว ผลชี้ขึ้นเป็นส่วนมาก ผลดิบมีสีเขียว แก่ ผลสุกสีแดงเข้ม ใช้ได้ทั้งผลผลิตสดและแห้ง ผลที่ตากแห้งแล้วจะมีสีสวย กรอบ ตําให้แหลกง่าย มีจํานวนเมล็ดมาก น้ำหนักมาก ทนทานต่อโรค เจริญเติบโตดี และสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ทรงพุ่มกว้างประมาณ 50-60 เซนติเมตร ต้นสูงประมาณ 45-60 เซนติเมตร อายุเก็บเกี่ยวหลังการย้ายกล้าประมาณ 90 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 60-90 วัน พันธุ์ที่ปลูกมีทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ลูกผสมที่พัฒนาวิจัยโดยหน่วยงานราชการและเอกชน

3. พริกยอดสน
เป็นสายพันธุ์พริกที่มีความโดดเด่นในด้านการปลูกง่าย ทนแล้ง เนื้อพริกบาง เมล็ดพริกมาก เมื่อแห้งแล้วพริกมีสีแดงวาว เมื่อนําไปทําพริกป่นจะมีกลิ่นหอม รสชาติเผ็ดปานกลาง นอกจากนี้ ยังสามารถนําไปทําเป็นพริกแห้งได้อีกด้วย แหล่งปลูกที่สําคัญอยู่ในเขตจังหวัดภาคอีสาน

พริกยอดสน

4. พริกพันธุ์ห้วยสีทน
เป็นพริกที่ได้จากการปรับปรุงพันธุ์และคัดพันธุ์จากพริกจินดา ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือ ผลชี้ขึ้น ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดงจัด ความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร เมื่อทําเป็นพริกแห้งจะให้พริกแห้งที่มีสีแดงเข้ม เป็นมัน เหยียดตรง ผิวผลเรียบ ก้านผลค่อนข้างยาว และรสเผ็ดจัด ทรงต้นมีการแตกกิ่งดี ประมาณ 3-5 กิ่ง ความสูงประมาณ 1.5 เซนติเมตร พร้อมกันนี้ยังมีการคัดพันธุ์และพัฒนาสายพันธุ์จนได้พันธุ์ใหม่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น พันธุ์พริกห้วยสีทน ศก.๑ ให้ผลสุกสีแดงเข้ม พริกแห้งผิวเรียบมัน เก็บเกี่ยวผลสุก อายุ 120 วัน หลังปลูก ผลผลิต 1.0-1.5 ตัน/ไร่ ผลสด 1 กิโลกรัม ตากเป็นพริกแห้งได้ 0.43 กิโลกรัม

พริกพันธุ์ห้วยสีทน

5. พริกขี้หนูสวน
เป็นไม้พุ่มตั้งตรง สูงประมาณ 1-4 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยว ออกจากลําต้นแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่ ส่วนกว้างสุดอยู่ทางฐานใบและเรียวไปหาปลาย ผิวใบเรียบ ไม่มีขนดอก เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ ดอกสีขาว 5 กลีบ มีจํานวนเกสรตัวผู้ 5 อัน ผลเป็นผลชนิดเบอร์รี่ แต่มีลักษณะยาวคล้ายผัก ผลจะตั้งชี้ขึ้น รูปร่างและขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์ ส่วนมากผลมีขนาดเล็กแต่มีรสเผ็ดมาก สภาพอากาศและอุณหภูมิในแต่ละ ท้องถิ่นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเผ็ดร้อนของพริกได้ ปัจจุบันนอกจาก สายพันธุ์พื้นเมืองแล้ว ยังมีการพัฒนาพันธุ์ลูกผสมต่างๆ ออกมาอย่างมากมาย

พริกขี้หนูสวน

6. พริกกะเหรี่ยง
เป็นสายพันธุ์พริกที่นิยมปลูกกันตามชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี มีลักษณะเด่นคือ มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม ทนทานต่อสภาวะอากาศและโรคแมลง ลําต้นใหญ่ การแตกแขนงดี สามารถให้ผลผลิตติดต่อกัน เป็นระยะเวลานาน นิยมทําเป็นพริกตากแห้งได้ดี คุณภาพผลสด 3 กิโลกรัม ตากแห้งได้ 1-1.3 กิโลกรัม อีกทั้งมีความเผ็ดและหอม ซึ่งเป็นลักษณะประจําพันธ์ุของพริกกะเหรี่ยง จึงทําให้โรงงานทําซอสพริกนิยมนําไปปั่นผสมกับพริกหนุ่มเขียว เพื่อเพิ่มความเผ็ดและความหอม

อ่าน :  การปลูกแตงกวา แบบทำค้าง สุดง่ายๆ เพิ่มผลผลิตได้ 20-30%

พริกกะเหรี่ยง

7. พริกหยวก
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum annuum var. longum Bail. อยู่ในตระกูล Solanaceae เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 1-2 ฟุต แตกกิ่งก้านมาก เป็นพืชฤดูเดียว ใบเป็นใบเดี่ยวมีรูปร่างคล้ายหัวใจ แต่ค่อนข้างยาว ปลายใบแหลม บางครั้งอาจดูเหมือนรูปหอก ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตรงซอกใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ ดอกมีสีขาวหรือขาวอมม่วง ผล เป็นผลชนิดเบอร์รี่ มีรูปร่างยาว ปลายเรียว ผลจะห้อยลง มีสีเหลืองอมเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นผลสีส้มหรือสีแดง มีกลิ่นฉุน พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่ พันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ลูกผสมต่างๆ

พริกหยวก

8. พริกซูเปอร์ฮอต
เป็นพริกขี้หนูพันธุ์ลูกผสมที่มีจุดเด่นตรงที่ผลผลิตต่อไร่สูง เก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น คุณภาพของผลผลิตที่สม่ำเสมอ ตรงกับความต้องการของตลาด ลักษณะเด่นคือ ต้นสูงใหญ่ แตกแขนงดี ข้อถี่และต่อยอดดีมาก ขนาดผล ยาว 5-7 เซนติเมตร ติดผลดก ทนทานโรค ผลดิบสีเขียว-เขียวเข้ม ผลสุกสี แดง-แดงเข้ม อายุการเก็บเกี่ยว 60-65 วัน บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด ต่อยอด การพัฒนาสายพันธุ์พริกโดยได้พัฒนาพันธุ์พริกขี้หนูลูกผสม “ซูเปอร์ฮอต 2” มี คุณสมบัติคือ ความยาวผลที่เพิ่มขึ้นและยาวสม่ำเสมอตลอดอายุการเก็บเกี่ยว เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง สีแดงสด มีรสเผ็ดกว่า มีเนื้อผลหนาและแน่น จึงทําให้ผลพริกไม่เน่าง่าย ผลผลิตไม่เสียหายแม้ต้องขนส่งเป็นระยะทางไกลๆ และสามารถนําไปแปรรูปได้หลากหลาย เช่น พริกป่น พริกแกง น้ำพริก ซอสพริก น้ำจิ้มไก่ เป็นต้น

พริกซูเปอร์ฮอต

9. พริกเหลือง
พริกเหลือง เป็นหนึ่งในกลุ่มของพริกใหญ่ และมีความต้องการบริโภคพริกเหลืองของคนไทยยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเมื่อนํามาประกอบอาหารจะได้สีและรสชาติที่มีความหอมเฉพาะตัว ในบางช่วง ราคาของพริกเหลืองที่มีวางขายในท้องตลาดจะสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท ปัจจุบัน พันธุ์พริกเหลืองได้มีการพัฒนาสายพันธุ์กันมากขึ้นทั้งในส่วนงานราชการและเอกชน

พริกเหลือง

10. พริกอัคนีพิโรธ
พริกอัคนีพิโรธ (หรือที่ชาวลพบุรีเรียกว่า “พริกพิโรธร้อยครก”) นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของวงการพริกเมืองไทยที่มีการต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมยาและเครื่องสําอาง เนื่องจากมีการนําสารเผ็ดของพริกที่ทําให้เกิดรสเผ็ดร้อนหรือแคปไซ

พริกอัคนีพิโรธ

*** ถ้าโพสนี้มีประโยชร์ โปรแชร์ต่อ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแก่ผู้พบเห็น

ที่มา : technologychaoban


แชร์ - ส่งบทความให้เพื่อน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง