น้ำสกัดชีวภาพ เป็นสารละลายสีน้ำตาลข้นที่ได้จากการย่อยสลายของเซลล์พืช หรือเซลล์สัตว์โดยผ่านกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจน และไม่ต้องการออกซิเจน ด้วยการเติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย ให้เป็นแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ซึ่งมีจุลินทรีย์ในกลุ่มแบคทีเรีย กลุ่มเชื้อรา และกลุ่มยีสต์ ในน้ำสกัดชีวภาพที่ผ่านกระบวนการย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว จึงประกอบด้วย จุลินทรีย์หลายชนิดและสารประกอบจากเซลล์สัตว์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน กรดอะมิโน ธาตุอาหาร เอ็นไซม์ และฮอร์โมนพืช ในปริมาณที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำน้ำสกัดชีวภาพ
วัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำสกัดชีวภำพ สูตรต่าง ๆ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำวัตถุดิบ ซึ่งมีและหาง่ายในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ ได้แก่
– พืชผักสด เช่น ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดขาว และตำลึง ฯลฯ
– ผลไม้สุก เช่น กล้วยน้ำว้า มะละกอ และฟักทอง ฯลฯ
– ผลไม้ดิบ เช่น กล้วยน้ำว้าดิบ มะละกอดิบ ฯลฯ
– สมุนไพรกลิ่นฉุนหรือมีรสเผ็ด เช่น สาบเสือ ขิงแก่ ตะไคร้หอม พริกไทย กระเพรา เหง้ากระชาย ดีปลี พริกลูกล้าโพง ใบสะเดาแก่ ใบและผลเทียนทอง ฯลฯ
– สมุนไพรรสขมหรือรสฝาด เช่น เปลือกต้นแค เปลือกต้นข่อย เปลือกต้นหว้า เปลือกมังคุด เปลือกเงาะ เปลือกทับทิม ใบขาไก่ ใบยูคาลิปตัส กระเทียม กานพลู ชะพลู กล้วยดิบ ลูกตะโกดิบ ลูกมะพลับดิบและลูกหมาก บอระเพ็ด ฯลฯ
น้ำหมัก น้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 3 (บำรุงผลและดอก)
ส่วนผสมน้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 3 (บำรุงผลและดอก)
– พืชผักสด 1 กิโลกรัม
– ผลไม้สุก 1 กิโลกรัม
– ปลาสด หรือหอยเชอรี่ 1 กิโลกรัม
– นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต 100 ซีซี
– กากน้ำตาล 2 กิโลกรัม
วิธีทำน้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 3 (บำรุงผลและดอก)
1. ให้นำวัตถุดิบมาบับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ
2. บรรจุลงในภาชนะ
3. เติมกากน้ำตาล กละส่วนผสมอื่นๆ ลงไป คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ อย่างน้อย 1 เดือน ระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน น้ำสกัดชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าจะหายไป
การนำน้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 3 (บำรุงผลและดอก) ไปใช้
ใชักับผักสด ผักกินผล พืชไร่ ผลไม้ ในระยยออกดอกและติดผล และใช้กับข้าวอายุ 15 วัน จนถึงระยะออกรวง ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 30-50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน
*** ถ้าโพสนี้มีประโยชร์ โปรแชร์ต่อ ไปยังกลุ่มเกษตรต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะแก่ผู้พบเห็น
น้ำสกัด ชีวภาพ สูตรอื่นๆ
วิธีการทำน้ำหมัก น้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 1 (บำรุงต้น)
วิธีการทำน้ำหมัก น้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 2 (บำรุงดอกและผล)
วิธีการทำน้ำหมัก น้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 3 (บำรุงผลและดอก)
วิธีการทำน้ำหมัก น้ำสกัด ชีวภาพ สูตร 4 เหง้ากล้วย (บำรุงผลและดอก)