ภายหลังจากได้เผยแพร่ข้อมูล มีเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมที่เข้าร่วมโครงการและได้รับปุ๋ย ปุ๋ยมูลสัตว์ชนิดต่าง ๆ ไปทดลองใช้ในแปลงปลูกพืชของตนเอง จำนวน 369 ราย เกษตรกรเกือบทั้งหมดให้การตอบรับเป็นอย่างดี มีความสนใจและต้องการใช้ของเสียในฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นปุ๋ยให้กับ พืชชนิดต่างๆ
เนื่องจากภายหลังจากพืชได้รับปุ๋ย ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพดี และได้น้ำหนัก ข้าวได้ ผลผลิตมากกว่า 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนผัก ใบตั้งและ เขียวขึ้น ได้น้ำหนัก ผลผลิตมากขึ้น เท่าตัวเช่นเดียวกับไม้ดอก ไม้ผลมีรสหวานและผลใหญ่ ส่วนอ้อยมีการแตกกอดี ลำใหญ่ขึ้น ซึ่งคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้นเป็นที่ต้องการมากของตลาด
1. มูลสัตว์แห้งใส่ในแปลงปลูกพืชโดยตรง
2. ปุ๋ยหมักมูลสัตว์ชนิดต่างๆ
3. ทำน้ำสกัดมูลสุกร โดยใช้มูลสุกรแห้งแชน้ำอัตราส่วน 1 : 10 แช่ไว้ 24 ชั่วโมง นำน้ำสกัด ส่วนใสเจือจางด้วยน้ำ 1 ต่อ 10-20 ใช้รดรอบๆ ต้นพืชและฉีดพ่นทางใบ
4. น้ำล้างคอก/น้ำทิ้งจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ใช้เครื่องดูดขึ้น ไปเจือจางกับน้ำตามความเหมาะสม แล้วฉีดพ่นในแปลงปลูกพืช
ปริมาณธาตุอาหารทั้งหมดในมูลสุกร (เปอร์เซ็นต์)
– ไนโตรเจน 2.69% : เพิ่มการเจริญของกิ่ง ก้าน ใบ ทำให้ใบพืชมีสีเขียวเข้มขึ้น และป้องกัน การร่วงของใบ กิ่ง ผล
– ฟอสฟอรัส 3.24% : เร่งการเจริญของดอก ผล และราก เพิ่มการดูดน้ำ และช่วยการงอกของเมล็ด
– โพแทสเซียม 1.12% : ช่วยให้ลำต้นแข็งแรง ผลใหญ่ รวงโต และเกี่ยวข้องกับการสร้างแป้ง และโปรตีน
– แคลเซียม 3.85% : ช่วยการงอกของเมล็ด สร้างเซลล์ใหม่ในส่วนของยอดและราก ยืดเวลา การเก็บและความคงความสดของผลที่เก็บเกี่ยวแล้วได้นานขึ้น
– แมกนีเซียม 1.18% : ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ,แป้ง และช่วยการงอกของเมล็ด
– ซัลเฟอร์ 0.19% : เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน ซึ่งจำ เป็นต่อการสร้างสารสีเขียวในพืช และทำให้พืชผักมีรสดีขึ้น
– โซเดียม 0.27%
– เหล็ก 0.44% : เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแส’สังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ปริมาณธาตุอาหารทั้งหมด (มก./กก.)
– ทองแดง 611.07 : เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง กิจกรรมของเอนไซม์ มีผลต่อการสร้างผลและเมล็ด
– แมงกานีส 1030.13 : ช่วยการยืดตัวของราก ทำให้รากแข็งแรงเป็นโรคได้ยาก และช่วยการสังเคราะห์ด้วยแสง
– สังกะสี 975.75 : มีบทบาทสำคัญในการปฏิสนธิและการพัฒนาของเมล็ด
ที่มา : สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์